Page 48 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 48

4-38 การสัมมนาทางการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

อาชีพ อาจารย์รับผิดชอบต่องานแนะแนวแห่งละ 1 คน ด้านการวางแผนมีแผนการปฏิบัติงานประจำ�ปี ด้าน
บุคลากรได้ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ภายในศูนย์และหน่วยงานอื่น ด้านงบประมาณได้จากงบบริหารศูนย์ฯ
จังหวัด และเงินบำ�รุงการศึกษาวิชาชีพ และด้านการให้บริการแนะแนวอาชีพได้จัดให้มีการบริการการสำ�รวจ
ข้อมูลอาชีพ บริการข้อมูลอาชีพ บริการให้คำ�ปรึกษาอาชีพ บริการการตัดสินใจอาชีพและบริการติดตามผล
อาชีพ มีปัญหาขาดงบประมาณด้านแนะแนวอาชีพโดยเฉพาะขาดบุคลากรที่มีวุฒิทางแนะแนวโดยตรง และ
ขาดยานพาหนะในการดำ�เนินงานแนะแนวอาชีพ

            3.1.2 	สภาพการดำ�เนินงานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจติ วิทยาผู้ใหญ่กลางคน จากตวั อยา่ ง
งานวิจัยสรุปได้ดังนี้

            หม่อมหลวงยุพดี ศิริวรรณ (2541) ศึกษาเรื่อง ปัญหาการให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพ
จิตทางโทรศัพท์ของหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ให้คำ�ปรึกษาร้อยละ
59.8 ไม่เคยรับการอบรมบริการปรึกษาทางโทรศัพท์ ร้อยละ 33.3 เห็นว่าการจัดรูปแบบบริการไม่เหมาะสม
ร้อยละ 74 ไม่เคยได้รับการนิเทศงาน ร้อยละ 53 ไม่พร้อมให้บริการปรึกษาเพราะมีภาระงานอื่น ร้อยละ 40
ไม่มีความรู้และเทคนิคเพียงพอ ร้อยละ 30.1 ไม่มีสถานที่และอุปกรณ์แยกเฉพาะในการให้บริการปรึกษา
ร้อยละ 20.9 ไม่มีโทรศัพท์สายตรง ร้อยละ 23 ปัญหาและผู้รับบริการหลากหลายเกินความสามารถ
ร้อยละ 16 ไม่พึงพอใจในการให้บริการปรึกษา และร้อยละ 15 ไม่เคยอบรมหลักสูตรใดๆ เลย โรงพยาบาล
พระศรีมหาโพธิ์ ร่วมกับ สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต (2540) ศึกษาเรื่อง ผลการปฏิบัติงาน
โครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ พบประเด็นสำ�คัญเกี่ยวกับการดำ�เนินงาน
แนะแนวผูใ้ หญ่ คอื การใหบ้ รกิ ารปรกึ ษา (Counseling) หรอื การใหค้ วามชว่ ยเหลอื ทางสงั คมจติ ใจ (Psycho
Social Intervention) สามารถนำ�มาใช้ประกอบกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน (Home Care) ได้เป็น
อย่างดี ดังนั้น ควรสนับสนุนให้นำ�เอาความรู้เกี่ยวกับการให้บริการปรึกษาที่ปัจจุบันบุคลากรทางสาธารณสุข
ได้รับการอบรมมาแล้วเป็นส่วนใหญ่ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจกรรม Home Care หรือจัดอบรมเพิ่มเติม
รวมไปถึงการอบรมการให้บริการปรึกษาครอบครัว (Family Counseling) ด้วย

            นนั ทนา รตั นากร (2537) ศกึ ษาเรือ่ ง การประเมนิ ผลการด�ำ เนนิ งานสนบั สนนุ งานสขุ ภาพจติ ใน
งานส่งเสริมสุขภาพดีถ้วนหน้า อำ�เภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ประจำ�ปีงบประมาณ 2537 พบว่าการศึกษาใน
ด้านการทำ�งาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำ�บล ร้อยละ 100 เห็นด้วยว่าสามารถให้บริการสุขภาพจิตควบคู่
กับการให้บริการปรึกษา (Counseling) สำ�หรับสื่อที่ต้องการคือ เอกสารแผ่นพับ โปสเตอร์ เอกสารเย็บเล่ม
เทปและวิดีโอเทปความรู้สุขภาพจิต ส่วนปัญหาหรืออุปสรรคที่พบในการดำ�เนินงานจิตเวชชุมชน พบว่า ส่วน
ใหญ่มีปัญหา ปัญหาเหล่านั้นคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีปริมาณงานในความรับผิดชอบมาก ทำ�ให้ดำ�เนินงาน
สุขภาพจิตได้น้อย ขาดความรู้ด้านสุขภาพจิตในการปฏิบัติงานและไม่มีนโยบายระดับกระทรวงให้ดำ�เนินงาน
สุขภาพจิตในชุมชน เป็นต้น

            3.1.3 สภาพการดำ�เนินงานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่วัยสูงอายุ งานวิจัย
สรุปได้ดังนี้
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53