Page 50 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 50

4-40 การสัมมนาทางการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

ที่เพิ่มศักยภาพของผู้สูงอายุและครอบครัว ระบบบริการในสถาบันที่ขยายครอบคลุมปัญหาผู้สูงอายุ การมี
ผู้นำ�ชุมชนที่มีจิตสำ�นึกด้านสวัสดิการ และการมีระบบอาสาสมัครที่เข็มแข็ง

                ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (2534) ศึกษาเรื่องแนวทางการจัดบริการสวัสดิการสำ�หรับผู้สูง
อายุสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อ้างอิงจากรัตนา เพ็ชรอุไร 2538: 212) พบว่าหน่วย
งานที่ให้บริการสวัสดิการสังคมของไทยในปัจจุบันนั้นมีทั้งหน่วยงานภาคเอกชนและรัฐบาล เช่น กรมการ
แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งหน่วย
งานเอกชน เช่น สภาสังคมสงเคราะห์ มูลนิธิวัยวัฒนานิวาสน์ สถานสงเคราะห์คนชราบางแค เหล่านี้ เป็นต้น
ลกั ษณะของการบรกิ ารจะเปน็ การใหค้ วามชว่ ยเหลอื ทางดา้ นการพฒั นา หรอื การแกป้ ญั หาเฉพาะหนา้ มากกวา่

                รัตยา พัฒนรักษ์ (2549) ได้ศึกษาเรื่อง “ความพร้อมในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของ
ชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนบ้านนาหว้า อำ�เภอจะนะ จังหวัดสงขลา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะการ
จัดสวัสดิการผู้สูงอายุของชุมชน การมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของชุมชน และการเตรียมความ
พร้อมในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของชุมชนบ้านนาหว้า อำ�เภอจะนะ จังหวัดสงขลา วิธีการศึกษาเป็นการ
สำ�รวจและการสัมภาษณ์ผู้นำ�ชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 25-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในชุมชน จำ�นวน
150 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ส่วนผู้นำ�ชุมชน 3 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล
คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Mean)
และค่า F-test ซึ่งสรุปผลการศึกษา ดังนี้ โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ
ระหว่าง 41-48 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมรสแล้ว รายได้อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท อาชีพ
หลักคือ เกษตรกรรมและเป็นสมาชิกกลุ่มกิจกรรมในชุมชนที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการในชุมชน ทัศนะการ
จัดสวัสดิการผู้สูงอายุของชุมชนในภาพรวมพบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับมากทุกด้านโดยเฉพาะด้าน
การบรหิ ารจดั การภายในชมุ ชน ซึง่ สมาชกิ ชมุ ชนจะตอ้ งมจี ติ ส�ำ นกึ รว่ มกนั ในการเปน็ เจา้ ของกองทนุ สวสั ดกิ าร
สำ�หรับทัศนะการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับ
มาก โดยเฉพาะการร่วมแรงของสมาชิกในการจัดกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนแต่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับ
ปานกลาง กรณีที่ว่าสมาชิกชุมชนจะต้องร่วมกันติดตามกำ�กับดูแลการบริหารจัดการกองทุน อย่างไรก็ตาม
ในด้านทัศนะการเตรียมความพร้อมในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของชุมชน กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับ
มากทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเตรียมการบริหารงานของชุมชนที่ยึดหลักการบริหาร “ระบบดี ระเบียบสวย
รวยคุณธรรม” ยกเว้นด้านสภาชุมชนที่กลุ่มตัวเห็นด้วยในระดับปานกลาง ส่วนผู้นำ�ชุมชนให้สัมภาษณ์ว่า
ชุมชนมีการเตรียมความพร้อมในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของชุมชนโดยส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีการ
ออมเงินไว้ใช้ในบั้นปลายชีวิต ส่งเสริมให้มีงานที่ก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้สูงอายุและจัดหาที่อยู่อาศัยสำ�หรับ
ผู้สงู อายุทีไ่ ม่มที ี่อยู่อาศัยในชมุ ชน  ขอ้ เสนอแนะของการศกึ ษาในระดับนโยบาย คือรัฐควรสง่ เสรมิ ดา้ นอาชพี
และรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน สร้างองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุแก่องค์การบริหารส่วนตำ�บลและส่งเสริมให้
บุคลากรวัยทำ�งานมีความรู้เพื่อเปลี่ยนผ่านเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ ระดับชุมชน ควรมีการจัดเตรียมที่
อยู่อาศัยที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุด้อยโอกาสในชุมชน จัดกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุที่มีความหลากหลาย
ส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในทุกขั้นตอน ควรกระตุ้นให้ผู้นำ�ริเริ่ม
การจัดตั้งกองทุนหรือชมรมผู้สูงอายุและกระตุ้นให้สมาชิกรู้จักการออมเงินเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55