Page 51 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 51
สัมมนาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ 4-41
วุฒิสาร ต้นไชย และเล็ก สมบัติ (2533) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ (อ้างอิงจาก รัตนา เพ็ชรอุไร 2538: 211-212) ศึกษาเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบระบบสวัสดิการ
สังคมสำ�หรับผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ผลของการศึกษาในประเด็นของการดำ�เนินงานและ
การจัดการสวัสดิการสำ�หรับผู้สูงอายุจะพบว่าทั้งสองประเทศ มีหน่วยงานทั้งของรัฐบาลและเอกชน หน่วย
งานอาสาสมัครและชุมชนร่วมดำ�เนินการในหลายรูปแบบคล้ายคลึงกัน หากในกรณีของประเทศญี่ปุ่นรัฐบาล
ท้องถิ่นมีบทบาทค่อนข้างมาก ในขณะที่รัฐบาลกลางเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณส่วนหนึ่งเท่านั้น และมี
แนวโน้มที่จะเริ่มให้ภาคเอกชน หน่วยงานอาสาสมัคร และโดยเฉพาะชุมชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในขณะ
ที่ประเทศไทยนั้น การจัดสวัสดิการสังคมสำ�หรับผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลและหน่วย
ราชการเท่านั้น เมื่อศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคของการดำ�เนินงานด้านสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ พบว่าทั้งสอง
ประเทศมปี ญั หาในดา้ นความขาดแคลนหรอื ความไมเ่ พยี งพอของบคุ ลากรผูป้ ฏบิ ตั งิ านงบประมาณ และสถาน
สงเคราะห์ เมื่อเทียบกับความต้องการและความจำ�เป็นในปัจจุบัน
3.2 ความต้องการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ จากการศึกษางานวิจัยใน
ด้านนี้ จะแสดงถึงความต้องการบริการแนะแนวของบุคคลในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น วัยผู้ใหญ่กลางคน และ
ผู้สูงวัย ตามลำ�ดับดังนี้
3.2.1 ความต้องการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ ของบุคคลในวัย
ผู้ใหญ่ตอนต้น จากตัวอย่างงานวิจัยสรุปได้ดังนี้
วิโรจน์ ทองสุพรรณ (2539) ศึกษาเรื่อง การศึกษาความคิดเห็นและความคาดหวังเกี่ยว
กับบริการแนะแนวของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำ�แพงแสน พบว่า ความคิดเห็นในปัจจุบัน
ของนิสิตต่อบริการแนะแนวทางทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน ได้แก่ บริการจัดหางาน บริการห้อง
สมุดอาชีพ และอยู่ในระดับน้อย 2 ด้าน ได้แก่ บริการให้คำ�ปรึกษาและบริการทดสอบและติดตามผล และ
เรื่องความคาดหวังของนิสิตต่อบริการแนะแนวทั้ง 4 ด้าน นิสิตมีความคาดหวังอยู่ในระดับมากและมากที่สุด
ส่วนความคิดเห็นและความคาดหวังต่อบริการแนะแนวทั้ง 4 ด้านของนิสิตนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัย
สำ�คัญทางสถิติที่ระดับ .05
ภาวิณี อัตตเสถียร (2535) ศึกษาเรื่อง ความต้องการบริการแนะแนวของนักศึกษา
พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลในเขตภาคเหนือ สังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขพบว่า
1) นักศึกษาทุกวิทยาลัยมีความต้องการบริการแนะแนวในระดับมากเป็นส่วน
ใหญ่ และเม่ือเปรียบเทียบความตอ้ งการของนกั ศกึ ษาตามวทิ ยาลัย พบว่ามีความต้องการแตกตา่ งกันอย่างมี
นัยสำ�คญั ทางสถิตทิ ่รี ะดบั .05 ในบรกิ ารท้ัง 5 ดา้ น ผู้สนใจรายละเอียดอาจศึกษาจากงานวจิ ัยฉบบั สมบูรณ์
2) นกั ศกึ ษาทกุ ชนั้ ปมี คี วามตอ้ งการบรกิ ารแนะแนวในระดบั มากเปน็ สว่ นใหญแ่ ละ
เมอื่ เปรยี บเทยี บความตอ้ งการของนกั ศกึ ษาแตล่ ะชน้ั ปี พบวา่ มคี วามตอ้ งการแตกตา่ งกนั อยา่ งมนี ยั ส�ำ คญั ทาง
สถติ ทิ ร่ี ะดับ .05 ในบรกิ าร 4 ด้าน ยกเวน้ ดา้ นเดียวคอื ดา้ นการจดั วางตัวบคุ คล
3.2.2 ความต้องการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ของบุคคลในวัยกลาง
คน จากตัวอย่างงานวิจัยสรุปได้ดังนี้