Page 62 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 62

4-52 การสัมมนาทางการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

ทกุ ราย 2) จดั การอบรมฟืน้ ฟู ศกึ ษาดงู าน ประชมุ สมั มนา การนเิ ทศจากผูเ้ ชีย่ วชาญ และการใหข้ อ้ มลู ขา่ วสารที่
ทนั สมยั อยา่ งตอ่ เนือ่ ง นอกจากนี้ ในแงข่ องความสามารถและทกั ษะทีน่ กั แนะแนวและการปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยา
ผู้ใหญ่ควรจะมี ดังนี้ 1) เป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีทักษะเฉพาะในด้านจิตวิทยาการแนะแนวและการปรึกษา
เชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ จิตวิทยาการปรึกษา เช่น สามารถให้การปรึกษาได้ สามารถใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา
ที่เป็นมาตรฐานและออกแบบสอบถามอย่างง่ายที่ใช้ในงานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ได้
2) เป็นผู้ที่มีทักษะในการสื่อสารกับบุคคลทั่วไปได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพและทำ�งานร่วมกับผู้อื่น
ได้ดี 3) เป็นผู้ที่มีความสามารถในการหาข้อมูล ข้อเท็จจริง ศึกษาด้วยตนเอง การทำ�วิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อ
งานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ 4) เป็นผู้ที่สามารถเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ และฝึก
อบรมแก่ผู้อื่นได้ 5) เป็นผู้มีทักษะในการดำ�เนินชีวิต ควรดำ�เนินชีวิตของตนเอง ตามอุดมการณ์หรือหลัก
การที่ตนเองนับถือ โดยไม่ทำ�ให้ตนเองและสังคมเดือดร้อน และสามารถรักษาคุณธรรม ศีลธรรม ที่จำ�เป็น
ต่อการเป็นมนุษย์ที่ดี ที่สมบูรณ์ไว้ได้ภายใต้อุปสรรคและแรงกดดันจากภายนอก

       1.4 	ผูร้ บั การแนะแนวและการปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยาผูใ้ หญ่ บคุ คลในวยั ผูใ้ หญท่ ีเ่ ปน็ ผูร้ บั การแนะแนว
และการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ เป็นปัจจัยสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
ผูใ้ หญ่ วยั ผูใ้ หญม่ คี วามหลากหลายทัง้ ในดา้ นชว่ งวยั พฒั นาการประจำ�วยั ภารกจิ เชงิ พฒั นาการ คณุ ลกั ษณะ
ประจำ�วัย ผู้ให้การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ควรมีความรู้เรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดีรวมทั้ง
ศึกษาถึงเจตคติ ค่านิยม ความต้องการและปัญหาด้านต่างๆ ที่เกิดในแต่ละช่วงของวัยผู้ใหญ่เพื่อนำ�มาเป็น
หลักการในการจัดบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ได้อย่างเหมาะสมต่อไป ลักษณะทั่วไป
และปัญหาในวัยผู้ใหญ่ จะขอกล่าวถึงโดยสรุปตามช่วงวัยดังนี้

            1.4.1 ลักษณะทั่วไปและปัญหาในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น วัยผู้ใหญ่ตอนต้น มีอายุประมาณ 20-40
ปี เป็นระยะที่ร่างกายพัฒนาสมบูรณ์เต็มที่ โดยทั่วไปบุคคลในวัยนี้จะมีร่างกายแข็งแรง ในด้านอารมณ์จะมี
ความมั่นคงทางจิตใจมากกว่าวัยรุ่น เริ่มมีวุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ มีการควบคุมอารมณ์ได้ดี เรียนรู้การ
ปรับตัวเข้ากับชีวิตคู่ ปรับตัวเข้ากับงานอาชีพและเพื่อนร่วมงาน ในด้านสติปัญญาก็ได้พัฒนาไปถึงขีดสุด
ยอดของการพัฒนาการ ในพัฒนาการด้านสังคม เป็นระยะที่เริ่มมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเพศตรงข้าม ซึ่ง
อาจนำ�ไปสู่การแต่งงาน เป็นการเริ่มครอบครัวของตนเองและบทบาทของความเป็นพ่อแม่ นอกจากนั้น วัย
ผู้ใหญ่ตอนต้นจะเป็นช่วงของการเริ่มต้นในอาชีพการงานอย่างแท้จริง รับงานอาชีพเข้าเป็นเอกลักษณ์ประจำ�
ตัว การประกอบอาชีพเป็นสิ่งที่จำ�เป็นและสำ�คัญประจำ�วัยนี้ ปัญหาหลักของวัยนี้จึงเป็นเรื่องการเลือกอาชีพ
และการเลือกคู่ครองที่เหมาะสมกับตนเอง

            ความเป็นผู้ใหญ่ตอนต้นในบางคน ยังเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างความคิดส่วนตัวกับ
สิ่งที่ถูกปลูกฝังมาในมโนธรรมหรือประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งแม้จะไม่มีกรอบตัดสินว่าสิ่งใดถูกหรือผิดที่
ตายตัว ซึ่งผู้ใหญ่เองก็ต้องยอมรับว่า หลายสิ่งเป็นเพียงเหมือนการ “สัมพันธ์ (Relativism)” กับกรอบใด
กรอบหนึ่งเท่านั้น อันจะนำ�ไปสู่การพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองที่สมบูรณ์ โดยไม่ต้องรู้สึกผิด (ปราโมทย์
สุคนิชย์ 2542: 15)
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67