Page 63 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 63
สัมมนาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ 4-53
ปัญหาหลักของวัยนี้ เป็นเรื่องการเลือกอาชีพและการเลือกคู่ครองที่เหมาะสมกับตนเอง การ
ปรับตัวเข้ากับชีวิตคู่ การปรับตัวเข้ากับอาชีพและเพื่อนร่วมงาน การแสวงหาความก้าวหน้าในงาน การจัดการ
ในครอบครัว ปัญหาการเงิน การมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อมีครอบครัวใหม่ มีบุตร รวมทั้งการดูแลบุตรที่ยังเล็ก
ปัญหาการหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม สำ�หรับผู้ใหญ่วัยต้นที่ไม่แต่งงานอาจมีปัญหาการปรับตัวต่อชีวิตโสด
1.4.2 ลักษณะทั่วไปและปัญหาวัยกลางคน วัยกลางคนมีอายุประมาณ 40-65 ปี เป็นวัยที่อยู่
ชว่ งกลางระหวา่ งวยั ผูใ้ หญต่ อนตน้ กบั วยั สงู อายุ พฒั นาการทางรา่ งกายโดยสภาพรา่ งกายทัว่ ไปจะคอ่ ยๆ เสือ่ ม
ถอยลง โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับสมองและระบบประสาทเริ่มเสื่อมลง แต่การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจยัง
คงที่และอาจเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก อยู่ในวัยที่ผ่านการสะสมความรู้มานานพอสมควร มีความสามารถในการ
ใช้ภาษา และการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ เข้าใจหลักวิชาการต่างๆ มากขึ้น ส่วนพัฒนาการด้านอารมณ์ มักจะมี
ความอดทนตอ่ ความกดดนั ทางอารมณไ์ ดน้ อ้ ยลงและการลดลงของฮอรโ์ มนเพศไดส้ ง่ ผลตอ่ การเปลีย่ นแปลง
ทางด้านอารมณ์ด้วย และพัฒนาการด้านจิตสังคม อยู่ในภาวะที่สนับสนุนส่งเสริมผู้อื่นมากกว่าการวางแผน
เฉพาะตน มีความรับผิดชอบต่อทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการงานมากขึ้น
ปญั หาทีพ่ บในวยั นี้ ทีเ่ ปน็ เรือ่ งส�ำ คญั คอื ปญั หาในการปรบั ตวั เพือ่ เขา้ สูว่ ยั สงู อายบุ างคนเรยี ก
ว่า เป็นวิกฤติการณ์วัยกลางคน (Mid-life Crisis) เนื่องจากเมื่อบุคคลมีอายุถึงราว 40 ปี มักจะเริ่มมีความ
รู้สึกชราลง สภาพร่างกาย สมอง และจิตใจไม่แข็งแกร่งเท่าเดิม บางคนเริ่มมีโรคประจำ�ตัว ทำ�ให้เริ่มหันมา
ประเมินสิ่งที่ตนได้ทำ�มากับเป้าหมายที่ได้เคยวางไว้ ซึ่งหากแตกต่างกันมาก บางคนอาจรู้สึกหิวโหย บางคน
พอใจ บางคนปรับเป้าหมายใหม่ หรือบางคนอาจพยายามรวมพลังครั้งสุดท้าย ทำ�บางอย่างที่ต่างไปจากเดิม
เชน่ ยา้ ยงาน ตัง้ บรษิ ทั ของตนเอง เริม่ จะไดท้ �ำ อยา่ งทีต่ อ้ งการกอ่ นทีห่ มดเวลาลง ซึง่ ครอบครวั คนอืน่ ภายนอก
อาจไม่เข้าใจในการดิ้นรนนี้ (ปราโมทย์ สุคนิชย์ 2542: 15)
นอกจากนี้ วัยกลางคนยังอาจพบกับวิกฤติการณ์ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ ปัญหาการปรับตัว
สภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางร่างกาย การหมดระดูในเพศหญิง และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย
การปรับตัวให้เข้ากับลูกวัยรุ่น การปรับตัวต่อคู่สมรส การปรับตัวกับสภาวการณ์หย่าร้าง และบางคนอาจมี
การปรับตัวต่อคู่สมรสใหม่ ปัญหาการแข่งขันในด้านตำ�แหน่งหน้าที่การงาน การปรับตัวให้เข้ากับผู้ร่วมงาน
ที่มีอายุน้อยกว่า การสร้างฐานะและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ปัญหาภาวะความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะ
ผู้ใหญ่ การปรับตัวให้เข้ากับพ่อ-แม่ที่แก่ชรา ตลอดจนการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุ
1.4.3 ลักษณะทั่วไปและปัญหาในวัยผู้สูงอายุ หรือวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย มีอายุประมาณ 65
ปีขึ้นไป ในวัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและสภาพของสังคมอย่างชัดเจน เกิดการเสื่อมถอยของการ
ทำ�งานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ส่วนด้านอารมณ์และจิตใจที่อาจเกิดขึ้นในวัยนี้ ได้แก่ อารมณ์เหงาและ
ว้าเหว่ การคิดถึงความหลัง อารมณ์เศร้าโศกจากการตายของคู่สมรสและบุคคลใกล้ชิด
ในดา้ นสตปิ ญั ญา ในวยั สงู อายทุ ีย่ งั คงมคี วามตืน่ ตวั กระฉบั กระเฉงสนใจใฝร่ ูอ้ ยูเ่ สมอ จะเปน็
ผู้ที่มีความสามารถทางสมองไม่เสื่อมถอยจนสิ้นอายุขัย รายงานการศึกษาพบว่า ความฉลาดในแง่ความเร็ว
สมรรถภาพด้านความรอบรู้ด้านวัฒนธรรม สังคม ภาษา และความเข้าใจเชิงคณิตศาสตร์ไม่เสื่อม และอาจ
พัฒนาได้ต่อไปถ้าได้รับการเรียนรู้และฝึกฝน กระบวนการเรียนรู้ของวัยผู้ใหญ่ตอนปลายจะต้องแตกต่าง