Page 64 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 64
4-54 การสัมมนาทางการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
จากวัยอื่น เช่น ต้องให้เวลาตามกำ�ลังของผู้ใหญ่วัยนี้ ไม่เรียนรู้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน (ศรีเรือน
แก้วกังวาล 2540: 557)
ในพัฒนาการด้านจิตสังคม บุคคลในวัยนี้ควรจะมีความมั่นคงทางใจ มีความพอใจในชีวิตที่
ผ่านมาของตนเอง ยอมรับทั้งความสำ�เร็จและความล้มเหลวของตนเอง มีความพร้อมที่จะเสียสละเพื่อคน
อื่น คิดคาดการณ์อย่างเป็นจริง และสามารถถอยมามองสิ่งที่ผิดพลาดของตนเองได้อย่างมีเหตุผลและมี
อารมณ์ขัน
ในด้านบุคลิกภาพ และปรับตัวทางสังคม จะทำ�ได้ดีหากบุคคลนั้นมีบุคลิกภาพที่เผชิญกับ
ปัญหาที่ได้ดีมาก่อน มีการเตรียมตัวสำ�หรับกิจกรรมที่จะทำ�ในวัยนี้ มีความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูงที่มีอายุใกล้
เคียงกัน และคนรุ่นหลังให้เกียรติ และโอกาสในการแสดงความสามารถในด้านต่างๆ ตามสมควร (ปราโมทย์
สุคนิชย์ 2542: 17)
ปญั หาส�ำ คญั ประจ�ำ วยั ผูส้ งู อายนุ ีก้ ค็ อื การสญู เสยี ในหลายๆ ดา้ น เชน่ สญู เสยี ต�ำ แหนง่ หนา้ ที่
การงาน การเกษยี ณ สามภี รรยา ญาตมิ ติ ร เพือ่ นสนทิ ทีต่ ายจากไป ปญั หาการปรบั ตวั กบั โรคภยั ทีม่ ากบั ความ
เสื่อมของร่างกาย การปรับตัวให้เข้ากับผู้อ่อนวัยและผู้สูงวัยด้วยกัน การปรับตัวให้ยอมรับกับสภาพที่มีราย
ได้ลดน้อยลง และปัญหาการยอมรับในการเผชิญกับความตาย
นอกจากนีย้ งั มตี วั อยา่ งงานวจิ ยั เกีย่ วกบั ปญั หาในวยั ผูใ้ หญท่ ัง้ 3 ชว่ งวยั ทีป่ ระสบอยูใ่ นปจั จบุ นั
มีดังนี้
ประภาวดี เหล่าพลู สขุ (2538) ศกึ ษาเรือ่ ง ปัญหาการปรับตัวและสขุ ภาพจิตของนิสติ ชัน้
ปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี พบว่า 1) นิสิตชั้นปีที่ 1 โดยทั่วไปมีปัญหาสุขภาพจิตทางด้านยํ้าคิด
ยํา้ ท�ำ ดา้ นความรูส้ กึ ไมช่ อบตดิ ตอ่ กบั คนอืน่ ดา้ นซมึ เศรา้ ดา้ นความกา้ วรา้ ว ชอบท�ำ ลาย ดา้ นความหวาดกลวั
โดยไม่มีเหตุผล ด้านความหวาดระแวง และด้านอาการทางจิต 2) นิสิตชั้นปีที่ 1 โดยทั่วไปมีปัญหาการปรับ
ตัวทางด้านการเรียนมาก มีปัญหาการปรับตัวด้านอนาคต อาชีพและการศึกษาด้านหลักสูตรและการสอน
ด้านกิจกรรมทางสังคมและนันทนาการด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านศีลธรรม จรรยาและศาสนา ด้าน
อารมณ์และส่วนตัวมีปัญหาในระดับปานกลาง และมีปัญหาด้านสุขภาพร่างกายและพัฒนาการทางร่างกาย
ปัญหาทางเพศ ด้านการเงิน และที่อยู่อาศัย และด้านบ้านและครอบครัว มีปัญหาในระดับเล็กน้อย
วันเพ็ญ หวังวิวัฒน์เจริญ และสาระ มุขดี (2539) ศึกษาเรื่องความเครียดของนักศึกษา
พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ พบว่า สาเหตุที่ทำ�ให้เกิดความเครียดในนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัย
สำ�คัญทางสถิติ ได้แก่ ความสัมพันธ์กับบิดามารดา สุขภาพ มารดา และการเสียชีวิตของมารดา ปัญหาด้าน
การเงิน สัมพันธภาพระหว่างพี่น้อง และสัมพันธภาพกับเพื่อน
อรุณรัศมี ปกมนตรี (2536) ศึกษาเรื่องการศึกษาสุขภาพจิตของทหารผ่านศึกพิการที่
รับการบำ�บัดรักษาในแผนกผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก พบว่า 1) ทหารผ่านศึกพิการโดยทั่วไป จะ
มีปัญหาสุขภาพจิตทางด้านความรู้สึกผิดปกติของร่างกาย ด้านยํ้าคิดยํ้าทำ� ซึมเศร้า ความหวาดกลัวโดยไม่มี
เหตผุ ล และดา้ นโรคจติ และเมือ่ น�ำ มาเปรยี บเทยี บกบั สขุ ภาพจติ ดา้ นตา่ งๆ ของทหารผา่ นศกึ พกิ ารทัง้ 3 กลุม่
ที่มีระยะเวลาที่พิการต่างกัน พบว่ามีผลเช่นเดียวกับลักษณะสุขภาพจิตโดยทั่วไปของทหารผ่านศึกพิการ