Page 66 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 66

4-56 การสัมมนาทางการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติซึ่งมีโอกาสที่จะมีปัญหาได้ง่าย สำ�หรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของเจ้าหน้าที่
ตำ�รวจจราจรอย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้แก่ ปัจจัยสุขภาพ การได้รับการ
สนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ความสงบสุขในครอบครัว การศึกษา และเวลาที่ให้กับครอบครัว

                สุรยี ์ กาญจนวงศ์ และคณะ (2540) ได้รวบรวมงานวจิ ัยที่ศึกษาผูส้ งู อายุในประเทศไทย
พบว่า ผู้ที่เข้าวัยสูงอายุจะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ มาก ที่สำ�คัญ ได้แก่ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ปัญหา
ด้านเศรษฐกิจ การสูญเสียบทบาททางสังคม การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ตลอดจนการปรับเปลี่ยนแผนใน
การดำ�เนินชีวิต ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถปรับตัวให้เผชิญกับปัญหาเหล่านี้ได้จะมีอารมณ์เศร้า

                พระบุญทรง หมีดำ� (ปุญญธโร) (2549) ศึกษาเรื่องปัญหาและทางออกของผู้สูงอายุตาม
หลักพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาของผู้สูงอายุแยกได้ 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 1) ปัญหาอันเนื่อง
มาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ได้แก่ โรคความดันโลหิต โรคเกี่ยวกับกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่างๆ
และโรคเกี่ยวกับสายตา การมองเห็น 2) ปัญหาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ได้แก่ ปัญหา
การปรับตัว ปัญหาความสัมพันธ์ และปัญหาเรื่องการใช้เวลาว่าง 3) ปัญหาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง
ทางด้านจิตใจ ได้แก่ การวิตกกังวล น้อยใจ และการซึมเศร้า ท้อแท้

       สำ�หรับทางออกของปัญหาของผู้สูงอายุตามหลักพุทธศาสนาพบว่า สามารถแบ่งตามสภาพปัญหา
ที่เกิดขึ้น คือ 1) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ใช้หลักไตรลักษณ์และอริยสัจสี่ เพราะจะทำ�ให้
ผู้สูงอายุพิจารณาเห็นถึงสภาพความเป็นจริงของชีวิต มุ่งส่งเสริมด้านกำ�ลังใจ ให้รู้จักการพิจารณา ปล่อย
วาง ละทิ้งความถือมั่น และการปฏิบัติดูแลตน ซึ่งจะสามารถบรรเทาหรือละทิ้งปัญหาทางกายที่รุมเร้าอยู่
ได้ 2) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ใช้หลักสาราณียธรรม โลกธรรม และสังควัตถุ เพราะจะทำ�ให้ผู้สูง
อายุได้คิดพิจารณาเห็นถึงสภาพความเป็นธรรมดาของโลก มุ่งเน้นให้เกิดการปรับตัว เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะ
ทำ�ให้ผู้สูงอายุสามารถดำ�เนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ 3) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ ใช้หลัก
สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน หรือหลักสติปัญฏฐาน เพราะจะทำ�ให้ผู้สูงอายุได้ฝึกจิตให้เกิดความรู้
แจ้งรู้เห็นตามความเป็นจริง ซึ่งจะทำ�ให้ผู้สูงอายุมีจิตใจสงบ ช่วยลดปัญหาด้านจิตใจที่เกิดขึ้น

       นอกจากนี้ปัญหาของผู้รับการแนะแนววัยผู้ใหญ่ ยังมีอีกมากมายที่ผู้ให้การแนะแนวควรรับทราบ
และตระหนักถึง โดยสรุปจากมานิต ศรีสุรภานนท์ และจำ�ลอง ดิษยวณิช (2542: 593) ได้แก่ ปัญหาที่เกิด
จากภายในครอบครัว เช่น การตายของสมาชิกในครอบครัว ปัญหาสุขภาพในครอบครัว การแยกกันอยู่
การหย่าร้าง การหนีออกจากบ้าน การถูกกระทำ�รุนแรงในครอบครัว และการไม่ได้รับการอบรมอย่างเพียง
พอ ปัญหาทางการศึกษา เช่น การไม่รู้หนังสือ ปัญหาด้านการเรียน เช่น การไม่ลงรอยกับครูหรือเพื่อนร่วม
เรียน และสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาไม่ดี ปัญหาทางอาชีพการงาน เช่น การไม่มีงานทำ� การมีแนว
โน้มที่จะตกงาน ความตึงเครียดในที่ทำ�งาน ความไม่พอใจในสภาพงานและผู้ร่วมงานและความยากลำ�บาก
เกี่ยวกับสภาพงาน ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย เช่น การไร้ที่อยู่อาศัย สภาพที่อยู่อาศัยไม่ดีพอ ไม่ถูกสุขลักษณะ
ความไม่ปลอดภัยจากการโจรกรรม หรือเพื่อนบ้าน และการไม่ลงรอยกับเพื่อนบ้านหรือเจ้าของที่ดิน ปัญหา
เศรษฐกิจ เช่น ความยากจนอย่างมาก การเงินไม่ดี ความช่วยด้านสวัสดิการไม่เพียงพอ และการมีหนี้สิน
ล้นตัว ปัญหาทางสังคมได้แก่ การตายหรือสูญเสียเพื่อนสนิท การขาดความช่วยเหลือทางสังคม การดำ�รง
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71