Page 73 - การบริหารงานภาพยนตร์
P. 73
การบรหิ ารงานโรงภาพยนตร์ 11-61
4. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
ตามกรอบแนวคดิ ของส�ำนักเทคโนโลยกี ารสื่อสารเป็นตวั กำ� หนด (Technology Determinism)
ซ่ึงศึกษาความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสื่อและสังคม จากแนวคิดดังกล่าวท�ำให้สนใจการพัฒนาเทคโนโลยี
ภาพยนตรส์ ่งผลกระทบต่อการเปล่ียนแปลงของโรงภาพยนตร์ นบั ต้ังแตอ่ ดตี ส่ปู ัจจบุ ัน รายละเอียดดงั นี้
ในอดีต ภาพยนตร์ไม่มีเสยี ง จงึ ทำ� ใหโ้ รงภาพยนตรฉ์ ายภาพยนตร์โดยไมจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งมเี สียง แต่
อาจมีดนตรีบรรเลงประกอบทั้งก่อนและระหว่างชมภาพยนตร์เพ่ือกระตุ้นผู้ชม แต่เม่ือเกิดการพัฒนาของ
ภาพยนตร์มเี สยี ง โรงภาพยนตรก์ ็ต้องปรบั เปลย่ี นไปส่กู ารฉายภาพยนตรเ์ สยี ง โดยต้องเพ่ิมระบบเสยี งใน
โรงภาพยนตร์ ในกรณีของไทย โรงภาพยนตร์ปรับเปล่ียนเป็นเสียงในช่วงปี พ.ศ. 2475 (โดม สุขวงศ์,
2556: 67)
นอกเหนือจากการปรับเพ่ิมเสียงแล้ว คีน (Keane, 2007: 17-19) เสนอว่า การพัฒนาของ
เทคโนโลยีของภาพยนตร์ที่เห็นได้เด่นชัด ก็คือ การพัฒนาระบบจอกว้าง (widescreen) เริ่มข้ึนปลาย
ทศวรรษที่ 1920-ต้นทศวรรษที่ 1930 ส่วนในชว่ งทศวรรษที่ 1950 ก็พฒั นาระบบซีนรี ามาและซนี มี าสโคป
(Cinemarama and CinemaScope) ระบบสามมิติ (3D) เพื่อดึงดูดผู้ชมให้เข้าชมภาพยนตร์ในโรง
ภาพยนตร์ และท�ำให้โรงภาพยนตร์ตอ้ งปรับลักษณะของโรงภาพยนตร์ จอ เครือ่ งฉาย ระบบเสยี งด้วย
และทโี่ ดดเด่นคือ การพัฒนาระบบโรงไอแม็กซ์ (IMAX) ท่เี ปน็ โรงขนาดใหญฉ่ ายฟิลม์ ระบบ 70
mm ในทศวรรษท่ี 1970 โรงภาพยนตร์ในระยะแรกเน้นการฉายภาพยนตรส์ ารคดีเพื่อสรา้ งประสบการณ์
เสมือนหนง่ึ เข้าไปในเหตุการณ์จริง ต่อมากพ็ ฒั นาสู่การฉายภาพยนตรบ์ ล็อกบสั เตอร์ (blockbuster)
ส�ำหรับในสงั คมไทยชว่ งปี พ.ศ. 2513 เรมิ่ มกี ารเปล่ียนฟิลม์ ภาพยนตร์ 16 มม.สู่ 36 มม. ส่งผล
ให้โรงภาพยนตร์โดยเฉพาะโรงภาพยนตร์กลางแปลงก็ต้องเปล่ียนขนาดจอภาพยนตร์ให้มีขนาดใหญ่ข้ึน
(โดม สุขวงศ,์ 2556: 150)
ในชว่ งปลายทศวรรษที่ 2530 ภาพยนตรก์ ย็ งั คงพฒั นาเทคโนโลยภี าพและเสยี งใหมๆ่ ขน้ึ มา เชน่
ระบบ THX (Tomillson Homan Experiement) ระบบเสยี ง Dolby Stereo ระบบ Dolby SRD ระบบ
DTS ระบบ SDDS เปน็ ตน้ ส่งผลใหโ้ รงภาพยนตร์ก็ต้องเร่ิมปรบั ระบบใหม้ คี วามทันสมยั และเปน็ ส่วน
หนึง่ ของการปรบั โรงภาพยนตร์ใหเ้ ข้ากับระบบมัลติเพลก็ ซ์ (มนฤดี ธาดาอำ� นวยชยั , 2539: 64, 73-74,
132) การปรบั ตวั เขา้ ระบบมลั ตเิ พลก็ ซน์ ี้ ดา้ นหนงึ่ โรงกพ็ ฒั นาระบบจนทนั สมยั และในเวลาเดยี วกนั นนั้ เอง
โรงภาพยนตร์ก็ปรับตัวโรงให้มีขนาดที่หลากหลายในพื้นท่ีเดียวกัน จนโรงบางโรงมีขนาดเล็กกว่าในอดีต
ท้ังนี้ ก็เพื่อที่จะฉายภาพยนตร์ที่หลากหลาย บางคร้ังน�ำภาพยนตร์ท่ีฉายในอาทิตย์แรกในโรงขนาดใหญ่
มาลงโรงในโรงขนาดเลก็ ได้ (Keane, 2007: 19)
ในยุคปจั จบุ นั (พ.ศ. 2557) ภาพยนตร์เรมิ่ เปล่ยี นระบบจากการฉายด้วยฟลิ ์มสู่ระบบดิจทิ ัล โรง
ภาพยนตรจ์ ึงต้องหันไปสู่การปรบั เครอ่ื งฉายภาพยนตร์โดยใชร้ ะบบดจิ ิทัล ซงึ่ มีความคมชัดมากกวา่ แต่ก็
เสียคา่ ใช้จ่ายสงู ขึ้น ยงั ผลใหโ้ รงภาพยนตรท์ ีไ่ ม่มที ุนท�ำใหเ้ กิดการลม้ หายตายจากได้ ทว่า ในอีกดา้ นหนง่ึ
การปรับเป็นระบบดิจิทัลยังช่วยขยายศักยภาพของโรงภาพยนตร์จากเดิมที่ฉายเฉพาะตัวภาพยนตร์ก็
สามารถปรบั เปน็ การถา่ ยทอดสญั ญาณภาพจากทหี่ นงึ่ สทู่ หี่ นงึ่ รวมถงึ สามารถถา่ ยทอดสดรายการโทรทศั น์
(Finney, 2010)