Page 35 - อาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
P. 35
จริยธรรมในการจัดการด้านอาหารและโภชนาการ 3-25
5.3 เพ่ิมขอบข่ายอ�ำนาจรัฐมนตรีและส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้สามารถบริหาร
จัดการ เพื่อรองรับการคุ้มครองผู้บริโภคได้มากขึ้น เช่น หลักเกณฑ์การประเมินความปลอดภัยของอาหาร
และการประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพ หลักเกณฑ์การโฆษณา การก�ำหนดด่านท่ีท�ำการตรวจสอบอาหาร
การก�ำหนดกลไกการด�ำเนินงานระบบการเตือนภัยด้านอาหารของประเทศ หลักเกณฑ์การขนส่ง การเก็บ
รักษา หรือการจ�ำหน่ายอาหาร
5.4 ปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการอาหาร ให้เหมาะสมตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
ของหน่วยงานนั้น ๆ รวมทั้งเพิ่มอ�ำนาจของคณะกรรมการในการให้ค�ำแนะน�ำหรือความเห็นในการใช้
มาตรการเพ่ือควบคุมความปลอดภัยของอาหาร
5.5 มกี ารจดั แบง่ ประเภทของอาหารตามความเสย่ี ง เพือ่ ใหส้ ามารถกำ� หนดมาตรการในการควบคุม
ให้เหมาะสมกับประเภทของอาหารน้ัน ๆ
5.5.1 “อาหารควบคุมเฉพาะ” เปลี่ยนช่ือเป็น “อาหารควบคุมพิเศษ”
5.5.2 “อาหารก�ำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน” หรืออาหารท่ีต้องจดทะเบียนอาหาร เปล่ียนช่ือ
เป็น “อาหารควบคุม”
5.5.3 “อาหารที่ต้องมีฉลาก หรืออาหารท่ัวไปบางชนิด” หรืออาหารที่ต้องจดแจ้ง เปลี่ยนชื่อ
เป็น “อาหารแจ้งรายการ”
5.5.4 “อาหารท่ัวไปท่ีนอกเหนือจากอาหารแจ้งรายการ” ยังใช้ชื่อ “อาหารท่ัวไป”
5.6 ก�ำหนดให้สถานที่ผลิตอาหารทุกประเภท ต้องจัดท�ำระบบคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
ตามหลักเกณฑ์วิธีการท่ีดีในการผลิตอาหาร (เช่น GMP HACCP) เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของอาหารได้
อย่างสม�่ำเสมอ ทั้งนี้จะก�ำหนดหลักเกณฑ์ตามประเภทและชนิดของอาหาร รวมท้ังก�ำหนดเกณฑ์ในการขอ
ใบอนุญาตตามความเหมาะสม
สถานที่ผลิตอาหารบางแห่งได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต เช่น ร้านค้าปรุงจ�ำหน่ายอาหาร
รถเข็น หาบเร่ แผงลอย
5.7 ก�ำหนดสิทธิของผู้ประกอบการ ปรับปรุงและเพ่ิมเติมสิทธิและหน้าที่ของผู้ประกอบการ เช่น
การโอนใบอนุญาต ก�ำหนดหน้าท่ีในการควบคุมความปลอดภัยอาหารของตนเอง เช่น ระบบการตรวจสอบ
ย้อนกลับ การรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ตนเอง การขอความเห็นเกี่ยวกับฉลาก เอกสารก�ำกับ
อาหาร โฆษณา การขอหนังสือรับรองเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และสถานท่ีผลิต
5.8 กำ� หนดหลกั การขออนญุ าตอาหารและการแสดงเครอื่ งหมาย คอื การข้นึ ทะเบียนอาหารควบคมุ
พิเศษ การจดแจ้งอาหารควบคุมและการแจ้งรายการอาหารแจ้งรายการ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติ
ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
5.9 ให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสามารถมอบหมายให้องค์กรผู้เช่ียวชาญ
มาช่วยด�ำเนินการตามภารกิจของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาบางกิจกรรม เช่น การประเมิน
เอกสารทางวิชาการ การตรวจสอบผู้ประกอบการ เป็นต้น แต่ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย