Page 14 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 14

1-4 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

เรอ่ื งท่ี 1.1.1 	ความหมาย ความสำ� คัญ และขอบเขตของการวจิ ยั
	 ทางการศึกษา

1. 	ความหมายของการวจิ ัยทางการศึกษา

       กอ่ นทจ่ี ะกลา่ วถงึ ความหมายของการวิจัยทางการศึกษา ขอทบทวนความหมายของการวจิ ัยเพ่ือเปน็
พ้ืนฐานก่อน ดังนี้

       เบสท์ และคาห์น (Best & Kahn, 1986, p. 18) กล่าวว่า การวิจัย หมายถึง การวิเคราะห์ท่ีมีระบบ
ระเบียบ และจดุ มงุ่ หมายท่ีชัดเจน อันจะน�ำไปสกู่ ารพัฒนาเป็นขอ้ สรุปที่เป็นนยั ทวั่ ไป หรอื ได้มาซ่งึ หลักเกณฑ์
หรือทฤษฎี อันสามารถน�ำไปใช้ในการพยากรณ์ได้

       เคอร์ลิงเจอร์ (Kerlinger, 2000, p. 14) ให้ความหมายของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ว่า เป็น
การสืบสวนข้อเท็จจริงตามปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์อย่าง
เท่ียงตรง และเป็นสากล โดยมีทฤษฎีและสมมติฐานเป็นแนวทาง

       เครสเวลล์ (Creswell, 2008, p. 3) กล่าวว่า การวิจัยเป็นกระบวนการในการรวบรวมและวิเคราะห์
สารสนเทศเพอื่ เพม่ิ พูนความเขา้ ใจในเรือ่ งราวหรอื ประเด็นทส่ี นใจ การวจิ ยั โดยทั่วไปประกอบดว้ ย 3 ขนั้ ตอน
คือ 1) การตั้งค�ำถาม 2) การรวบรวมข้อมูลเพ่ือตอบค�ำถามนั้น และ 3) น�ำเสนอค�ำตอบของค�ำถามน้ัน
ซ่ึงเป็นกระบวนการท่ีใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจ�ำวัน โดยเร่ิมต้นที่ค�ำถาม การรวบรวมสารสนเทศ และ
ได้คำ� ตอบ ถงึ แมบ้ างครัง้ กระบวนการวจิ ยั จะมีมากกว่า 3 ขั้นตอนนี้ แตส่ ามขัน้ ตอนนก้ี เ็ ป็นกรอบงานท่สี �ำคัญ
ของการวิจัย

       นงลักษณ์ วิรัชชัย (2553, น. 47) ให้ความหมายของการวิจัยว่า หมายถึง การแสวงหาความรู้
ความจริงด้วยวิธีที่มีระบบ มีความเชื่อถือได้โดยอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ท่ี
เป็นค�ำตอบปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนดไว้อย่างชัดเจน การวิจัยเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์ (scientific method of inquiry) ซึ่งประกอบด้วยข้ันการต้ังปัญหา (encountering the
problem) ขั้นต้ังสมมติฐาน (formulating hypothesis) ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (gathering data)
ขั้นทดสอบสมมติฐาน (testing hypothesis) และขั้นลงสรุป (drawing conclusion) เป็นกระบวน-
การเรียนรู้และใช้ประโยชน์ขององค์ความรู้ (process of learning, utilizing knowledge) ท่ีต้องใช้เวลา
และความพยายาม (activity requiring time and efforts) การวิจัยจะเป็นตัวเชื่อมต่อความรู้ในอดีตและ
องค์ความรู้ในปัจจุบัน (linkage of prior and current knowledge)

       สรุป การวิจัยคือ กระบวนการหาความรู้ความจริงใหม่ท่ีมีระเบียบแบบแผนตามหลักวิชา อาศัย
หลักเหตุผลท่ีรอบคอบ รัดกุม และข้อมูลที่เชื่อถือได้ และความรู้ความจริงน้ันจะน�ำไปเป็นหลักการ ทฤษฎี
หรือข้อปฏิบัติท่ีท�ำให้มนุษย์ได้ความรู้และน�ำไปใช้ประโยชน์
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19