Page 15 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 15
แนวคิดเก่ียวกับการวิจัยทางการศึกษา 1-5
ส�ำหรับการวิจัยทางการศึกษามีผู้ให้ความหมายไว้หลายประเด็น ดังต่อไปน้ี
Economic and Social Research Council: ESRC (1996 อ้างใน Verma & Mallick, 1999,
p. 33) กล่าวว่า การวิจัยทางการศึกษาในทางสังคมศาสตร์ หมายถึง การตอบค�ำถามใด ๆ อย่างมีระเบียบ
วิธีที่ส่งเสริมความเข้าใจทฤษฎี กระบวนการ และกฎเกณฑ์ทางการศึกษา หรือเพื่อใช้ในการตัดสิน และ
ตดั สนิ ใจเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติ การวิจัยดังกล่าวอาจจะด�ำเนินการอย่างเป็นทางการในสถานศึกษา
หรือบริบทท่ีไม่เป็นทางการ (เช่น พ่อแม่ ปฏิสัมพันธ์ของเด็ก และชุมชนท้องถิ่น) ระเบียบวิธีการในการ
ตอบค�ำถามน้ีจ�ำเป็นต้องอยู่บนพ้ืนฐานของทฤษฎี และวิธีการทางสังคมศาสตร์ อย่างไรก็ตามวิธีการและ
เทคนิคท่ีใช้ต้องมีคุณภาพต่อองค์ความรู้ทางการศึกษา
Ali (1990, p. 22) กล่าวว่า การวิจัยทางการศึกษา คือความพยายามอย่างเป็นระบบในการก�ำหนด
และตรวจสอบปัญหาส�ำคัญท่ีเก่ียวข้องกับการเรียนการสอน และการเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน และ
ในระบบโรงเรียนต่าง ๆ
อุทุมพร จามรมาน (2544, น. 5) กล่าวว่า การวิจัยทางการศึกษา หมายถึง การเสาะแสวงหา
ความรู้ใหม่ วิธีแก้ปัญหาแบบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยใช้วิธีการที่ยอมรับในศาสตร์การศึกษา
สรชัย พิศาลบุตร (2559, น. 10) กล่าวว่า การวิจัยทางการศึกษา หมายถึง การค้นคว้าหาความรู้
ทางการศึกษาด้วยวิธีการที่เป็นระบบ เพื่อหาความรู้ใหม่ด้านการศึกษา หรือความรู้ที่จะน�ำไปใช้ในการ
แก้ปัญหาทางการศึกษาในด้านผู้เรียน กระบวนการเรียนการสอน และผู้ส�ำเร็จการศึกษา
สุวิมล ว่องวาณิช (2555) กล่าวว่า การวิจัยทางการศึกษา คือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้
ที่น�ำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ยวุ ดี วฒั นานนท์ (2558, น. 1) ใหค้ วามหมายของการวจิ ยั ทางการศกึ ษาวา่ คอื ระเบยี บวธิ กี ารจดั การ
สืบค้นข้อมูลอย่างมีระบบ เพื่อค้นหาค�ำตอบของปัญหาวิจัย เก่ียวกับตัวแปรทางการศึกษา และผลผลิต
ที่เกิดข้ึนจากการจัดการการศึกษา
นักวิจัยการศึกษาเห็นพ้องกันว่าการวิจัยทางการศึกษาต้องด�ำเนินการในลักษณะท่ีเข้มงวดและเป็น
ระบบ การวิจัยทางการศึกษามีหลากหลายสาขาวิชา เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และปรัชญา
ความทับซ้อนในสาขาวิชาที่หลากหลายเหล่านี้ท�ำให้มีวิธีการวิจัยที่กว้างขวาง ผลการวิจัยทางการศึกษาจ�ำเป็น
ต้องตีความในบริบทที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาน้ัน ๆ ไม่สามารถใช้ได้อย่างกว้างขวางทุกเวลาหรือทุกสถานท่ี
(http://en.wikipedia.org/wiki/Educational_research ค้นเม่ือ 16 มีนาคม 2554)
สรุป การวิจัยทางการศึกษา หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อตอบปัญหา
ทางการศึกษาอย่างมีระบบเก่ียวกับการเรียนรู้ของนักเรียน พลวัตในชั้นเรียน วิธีสอน การฝึกอบรมครู
การจัดการศึกษา และเร่ืองอื่น ๆ ทางการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ท่ีแน่นอนด้วยวิธีการท่ีหลากหลายเพ่ือ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา