Page 32 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 32

1-22 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

                                            Dependent
                                             Variable

Independent                                            Extraneous
  Variable                                              Variable

                     MAX. Systematic Variances	
                            MIN. Error Variances

                        CON. Extraneous Variances

                              ภาพท่ี 1.2 หลกั การ MAX MIN CON

            การควบคุมความแปรปรวนแทรกซ้อนเป็นยุทธวิธีท่ีส�ำคัญในการวิจัยเชิงทดลอง เพราะ
ถา้ นกั วจิ ยั ควบคมุ ความแปรปรวนแทรกซอ้ นไดม้ ากเทา่ ไร ผลการวจิ ยั กจ็ ะแสดงความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งตวั แปร
อิสระกับตัวแปรตามท่ีเป็นจริง (true relationship) มากข้ึนเท่าน้ัน ยุทธวิธีการควบคุมความแปรปรวน
แทรกซ้อนท�ำได้ 4 วิธี คือ การใช้กระบวนการสุ่ม (randomization) การจับคู่ (matching) หรือการจัด
บล็อก (blocking) การก�ำจัดตัวแปรแทรกซ้อน (elimination) การรวมตัวแปรแทรกซ้อนเข้ามาศึกษา
(inclusion) และการควบคุมทางสถิติ (statistical control) (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2552, น. 51-54)

            1.2 	การวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) หมายถึง การวิจัยที่เน้นการรวบรวมข้อมูล
เพ่ือท�ำความเข้าใจและบรรยายปรากฏการณ์ ซึ่งสรุปลักษณะได้ดังนี้ (กาญจนา วัธนสุนทร, 2544, น. 7-8)

                1)	 เป็นการวิจัยท่ีไม่ใช้การทดลอง ไม่มีการควบคุมหรือจัดกระท�ำตัวแปร
                2)	 เป็นการศึกษาตัวแปรที่เกิดขึ้นแล้วในสภาพธรรมชาติ ท�ำให้ไม่อาจจัดกระท�ำใน
ลักษณะการทดลองได้ เช่น เพศ อายุ ความคิดเห็น เช้ือชาติ เจตคติ หรืออาจเป็นตัวแปรที่อาจจัดกระท�ำได้
แต่การจัดกระท�ำมีผลกระทบในด้านที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้เป็นกลุ่มศึกษา ก่อให้เกิดผลที่ขัดต่อศีลธรรม
และจริยธรรม ไปจนถึงขัดต่อกฎหมายและปทัสถานของสังคม เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกิน
ยาบ้ากับอุบัติเหตุทางรถยนต์ ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับสภาพครอบครัวที่แตกแยก
                3)	 เป็นการสืบเสาะหาความรู้เชิงประจักษ์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับ
การวิจัยประเภทอื่น ๆ
                4)	 เป็นการศึกษาค้นหาข้อเท็จจริงว่าเกิดข้ึนอย่างไรบ้าง มีความถ่ีเท่าไร ตัวแปรต่าง ๆ
ท่ีเกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเพื่อตอบค�ำถามว่า “อย่างไร” โดยไม่ต้องการ
อธิบายว่า “ท�ำไมจึงเป็นเช่นนั้น” ซ่ึงแต่เดิมจะได้ค�ำตอบจากการวิจัยเชิงทดลอง แต่ด้วยความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และสถิติวิเคราะห์ ในปัจจุบันสามารถใช้การวิจัยความสัมพันธ์อธิบายว่าเหตุการณ์
ในทางสังคมศาสตร์ “ท�ำไมจึงเป็นเช่นนั้น” ได้
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37