Page 33 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 33
แนวคิดเก่ียวกับการวิจัยทางการศึกษา 1-23
5) มีการควบคุมผลจากตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษาหลังจากเก็บข้อมูลแล้ว โดยใช้วิธี
การทางสถิติ
1.3 การวิจยั เชงิ ส�ำรวจ (survey research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพ่ือการค้นคว้าข้อเท็จ
จริง เร่ืองราว เหตุการณ์ หรือส่ิงที่เป็นอยู่ในสภาพการณ์ที่ไม่มีการจัดกระท�ำ เก่ียวกับสภาพการศึกษาใน
สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง แต่ละกลุ่ม (อ�ำเภอ จังหวัด เขตการศึกษา ภาค และรวมท้ังประเทศ) แต่ละกลุ่ม
สาขาวิชา (สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) แต่ละสังกัด (ส�ำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส�ำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ส�ำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
1.4 การวจิ ยั เชงิ ความสมั พนั ธ์ (interrelationship research) เป็นการวิจัยเพื่อวัดความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปร หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางการศึกษา เช่น การหาปัจจัยหรือลักษณะทางประชากร
ของนักเรียนท่ีมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ความคิดวิเคราะห์
ความคิดสังเคราะห์ของนักเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างจ�ำนวนนักเรียนในห้องกับระดับความพึงพอใจของครู
ท่ีมีต่อการสอนวิชาภาษาอังกฤษ
1.5 การวจิ ยั เชิงเปรยี บเทยี บหาสาเหตุ (causal comparative research) หมายถึง การวิจัยท่ีใช้
การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มเพื่อให้ทราบสาเหตุที่ท�ำให้เกิดผลแตกต่างกัน เป็นการศึกษาผล
ไปหาสาเหตุ โดยมากจะเป็นการวิจัยที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในลักษณะของการศึกษาสืบ
ย้อนถึงความเป็นสาเหตุ (ex post facto)
1.6 การวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) หมายถึง การวิจัยเพื่อสร้าง
หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา และตรวจสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาข้ึน เช่น อุปกรณ์
สื่อการเรียนการสอน คู่มือแผนกิจกรรม หนังสือแบบเรียน รูปแบบวิธีการ กระบวนการ เป็นต้น วิธีการท�ำ
วิจัยอาจเริ่มต้นด้วยการวิจัยเพื่อให้ได้ความรู้มาใช้ในการพัฒนา ต่อด้วยการพัฒนา การน�ำไปทดลองใช้
แล้วแก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนได้ผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และ
จบด้วยการวิจัยเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ
วิธีการวิจัยทางการศึกษาโดยทั่วไปบางประเภทใช้การศึกษาข้อมูลที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เช่น การวิจัยเชิงส�ำรวจ การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ บางประเภทอาจใช้การจัดกระท�ำกับกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
เช่น การวิจัยเชิงทดลอง เมื่อด�ำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและตรวจสอบสมมติฐาน
แล้วก็ถือว่างานเสร็จส้ิน แต่งานวิจัยและพัฒนาต้องใช้การทดลองซํ้า เม่ือทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ครั้งแรกแล้ว
ศึกษาพบว่ามีข้อบกพร่อง ต้องน�ำข้อบกพร่องน้ันมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาให้ดีข้ึน แล้วน�ำไปทดลองใหม่และ
น�ำผลมาปรับปรุงแก้ไข ด�ำเนินการเช่นนี้ 2-3 รอบ หรือมากกว่า จนกระท่ังม่ันใจว่าได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
ซ่ึงสามารถน�ำไปใช้ได้ กระบวนการวิจัยและพัฒนาจึงประกอบด้วยกระบวนการวิจัย (Research: R) และ
กระบวนการพัฒนา (Development: D) เริ่มด้วยการวิจัยเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดข้ึน หาแนวทาง
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาเพ่ือแก้ไขปัญหา (R1) หลังจากน้ันจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาที่
คาดว่าเหมาะสมกับการแก้ปัญหา (D1) แล้วน�ำผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาท่ีพัฒนาขึ้นไปทดลองใช้เพื่อ