Page 36 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 36
1-26 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ชาวต่างประเทศต่อการศึกษาของไทย พระมหากษัตริย์และสถาบันสงฆ์ท่ีมีต่อระบบการศึกษาไทย สถานที่
ท่ีใช้ในการศึกษา การบริหารการศึกษา คุณภาพการศึกษา ความเป็นมาของสถาบันการศึกษาไทย
2.2 การศึกษารายกรณี (case study) เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาถึงบุคลิกภาพ ประวัติหรือ
เหตุการณ์ในอดีตของนักเรียนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนา เป็นการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก 1-3 คน
ท่ีมีลักษณะพิเศษเฉพาะอย่างท่ีต้องการศึกษาเหมือนกัน
3. การวิจัยผสมวิธี เป็นการวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการวิจัย
เรื่องเดียวกัน โดยใช้จุดแข็งของการวิจัยหนึ่งไปแก้จุดอ่อนของอีกการวิจัยหน่ึง เพ่ือให้ได้ผลการวิจัยท่ีดีขึ้น
มีความเชื่อถือมากท่ีสุด สอดคล้องและทันสมัยกับปรากฏการณ์ท่ีเกิดขึ้นมากที่สุด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน
เป็น 4 แบบ คือ 1) ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพในตอนต้นเพ่ือรวบรวมข้อมูลเก่ียวกับตัวแปรหรือ
ปรากฏการณ์ที่ต้องการวัด จากนั้นจึงน�ำสารสนเทศท่ีได้มาก�ำหนดเป็นนิยามหรือประเด็นเพ่ือสร้างเครื่องมือ
วิจัยเชิงปริมาณ 2) ใช้วิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพควบคู่กันไป เน่ืองจากค�ำถามวิจัยเป็นค�ำถามท้ัง
เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพ่ือให้ได้ผลการวิจัยเสริมกันและได้ผลการวิจัยที่สมบูรณ์มากกว่าการใช้วิธีใด
วิธีหน่ึงวิธีเดียว 3) ใช้วิธีการเชิงคุณภาพเพ่ืออธิบายผลการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยต้ังค�ำถามเชิงปริมาณ และ
ในการตอบค�ำถามวิจัยได้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพเพ่ืออธิบายเสริมเติมเต็มให้ได้ค�ำตอบท่ีสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
และ 4) ใช้วิธีการเชิงปริมาณเพ่ือขยายผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยต้ังค�ำถามเชิงคุณภาพ และเมื่อได้
ผลการวิจัยในรูปทฤษฎีฐานราก นักวิจัยน�ำผลการวิจัยเชิงคุณภาพไปตรวจสอบยืนยันด้วยด้วยวิธีการ
เชิงปริมาณ เพ่ือยืนยันความตรงของทฤษฎีฐานรากนั้น (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2552, น. 56-57; Arthur and
Others, 2012, p. 149) การวิจัยทางการศึกษาที่ใช้การวิจัยผสมวิธีที่พบบ่อย ได้แก่
3.1 การวิจัยเชิงประเมิน (evaluative research) หมายถึง การวิจัยท่ีเก็บรวบรวมข้อมูลเพ่ือ
บรรยาย และตัดสินคุณค่าของสภาพการณ์ การด�ำเนินงาน หรือผลการด�ำเนินงานใด ๆ โดยเทียบกับเกณฑ์
มาตรฐานท่ีก�ำหนด เป็นการวิจัยท่ีมีบทบาทส�ำคัญในด้านการตัดสินใจและการพัฒนางาน กระบวนการวิจัย
เชิงประเมินประกอบด้วยขั้นตอนท่ีส�ำคัญท่ีแตกต่างจากการวิจัยปกติ คือ การวิเคราะห์ส่ิงที่มุ่งประเมิน
ก�ำหนดจุดมุ่งหมายหลักของการประเมิน ก�ำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน ก�ำหนดกรอบการประเมิน
และเกณฑ์การตัดสินผล ผลการวิจัยสรุปว่าได้ผลตรงตามเป้าหมายมากน้อยเพียงใด ควรยกเลิกหรือด�ำเนิน
การต่อไป การวิจัยประเภทนี้เป็นการท�ำวิจัยและใช้ผลการวิจัยตัดสินใจเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งที่ประเมิน
มีการเก็บข้อมูลท้ังเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นแบบกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
3.2 การวจิ ยั นโยบาย (policy research) เป็นการวิจัยเพื่อน�ำไปใช้ประกอบการก�ำหนดนโยบาย
ของผู้บริหารการศึกษาระดับต่าง ๆ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับเขตการศึกษา ระดับจังหวัด หรือระดับโรงเรียน/
สถานศึกษา เชน่ การศึกษาเพอื่ ก�ำหนดนโยบายด้านการสง่ เสรมิ และสนบั สนุนการวจิ ัยของสถาบันอุดมศกึ ษา
การศึกษาเพ่ือก�ำหนดนโยบายด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย