Page 40 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 40
1-30 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
3) มีความเป็นนวภาพ เป็นปัญหาวิจัยท่ีไม่เคยมีใครท�ำมาก่อน ถ้าปัญหาวิจัยนั้นมีคนเคยท�ำ
แล้ว นักวิจัยต้องตอบให้ได้ว่าปัญหาวิจัยนี้ต่างจากปัญหาวิจัยท่ีคนอ่ืนเคยท�ำตรงไหน เช่น อาจใช้วิธีวิทยาท่ี
สูงกว่า หรือมีการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้ดีข้ึนท�ำให้ตอบปัญหาวิจัยได้ดีข้ึนกว่าเดิม หรือใช้เทคนิคใหม่
ท่ียังไม่มีใครเคยใช้มาก่อน
4) มีความทันสมัยสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ทันต่อเหตุการณ์และอยู่ในความสนใจของ
คนทั่วไป
5) มีทฤษฎีรองรับ ใช้วิธีวิทยาที่เหมาะสม
6) มีความเป็นไปได้ในการวิจัย ทั้งในด้านของข้อมูลท่ีใช้ในการวิจัย วิธีการวิจัย รวมทั้ง
งบประมาณและเวลา
7) ไม่ผิดต่อหลักจริยธรรมและศีลธรรมอันดี ไม่ท�ำความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น และไม่
ล่วงละเมิดสิทธิของผู้ให้ข้อมูล
2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง (review the literature) เมื่อผู้วิจัยเลือกปัญหาท่ีจะ
ท�ำวิจัยได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการศึกษาหลักการ/ทฤษฎีและงานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะท�ำ
วิจัย ท�ำให้ทราบว่าการวิจัยที่ใกล้เคียงกับการวิจัยของตนน้ันนักวิจัยในอดีตได้ท�ำวิจัยอะไรไปบ้างแล้ว เพ่ือ
จะได้ไม่ท�ำวิจัยซํ้าซ้อนกับงานวิจัยในอดีต นักวิจัยคนอ่ืนได้จัดการแก้ปัญหาของเขาอย่างไร ซึ่งจะท�ำให้ได้
เรียนรู้การแก้ปัญหาต่าง ๆ ท่ีตนอาจประสบต่อไป นอกจากน้ันยังช่วยให้ผู้วิจัยมีความคิดใหม่ ๆ และวิธีการ
ใหม่ ๆ ในการท�ำวิจัย ผลสรุปจากการศึกษาหลักการ/ทฤษฎีและงานวิจัยในอดีตท่ีเกี่ยวข้องจะได้ข้อสรุป
เกยี่ วกบั กรอบแนวคดิ เชงิ ทฤษฎี (theoretical framework) ซง่ึ เปน็ แบบจำ� ลองแสดงโครงสรา้ งความสมั พนั ธ์
ระหว่างตัวแปรท้ังหมดที่เก่ียวข้องกับปัญหาท่ีต้องการศึกษาตามทฤษฎี จากกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี
ถา้ นกั วจิ ยั ตดั สนิ ใจเลอื กศกึ ษาเฉพาะบางกลมุ่ ตวั แปรเพอื่ ความเหมาะสม โดยมเี หตผุ ลสนบั สนนุ การตดั สนิ ใจ
อย่างดี กรอบแนวคิดท่ีปรับใหม่จะได้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework) ที่นักวิจัยจะ
ใช้ต่อไป
3. การก�ำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย/การต้ังสมมติฐานการวิจัย เมื่อผู้วิจัยศึกษาเอกสารและงาน
วิจัยท่ีเก่ียวข้องอย่างครบถ้วนแล้ว ผู้วิจัยจะได้ “กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี” ซ่ึงแสดงความเช่ือมโยงสัมพันธ์
ของตัวแปรทั้งหมดท่ีเกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยท่ีต้องการศึกษา กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีนี้อาจจะเป็นโมเดล
การวจิ ยั หรอื กรอบแนวคดิ การวจิ ยั กไ็ ด้ หากผวู้ จิ ยั สนใจจะศกึ ษาปรากฏการณท์ คี่ รอบคลมุ ทฤษฎนี น้ั ทงั้ หมด
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้วิจัยจะศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรเพียงบางตัวในกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี
ด้วยเพราะข้อจ�ำกัดด้านต่าง ๆ โมเดลการวิจัย หรือกรอบแนวคิดการวิจัยน้ีจึงได้จากการลดตัวแปรในกรอบ
แนวคิดเชิงทฤษฎีลง ประโยชน์ของกรอบแนวคิดการวิจัย มีดังน้ี
1) ชว่ ยชใ้ี หเ้ หน็ ทศิ ทางของการวจิ ยั และความสมั พนั ธข์ องตวั แปรตน้ ตวั แปรตาม และตวั แปร
ส่งผ่านที่ต้องการศึกษา
2) บอกแนวทางในการออกแบบการวิจัย
3) บอกแนวทางการก�ำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย