Page 41 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 41
แนวคิดเก่ียวกับการวิจัยทางการศึกษา 1-31
4) บอกแนวทางการเลือกใช้เครื่องมือในการวิจัย
5) บอกแนวทางการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
6) บอกกรอบการแปลผลและอภิปรายผลการวิจัย
กรอบแนวคิดการวิจัย หรือโมเดลการวิจัย สามารถน�ำเสนอได้ 3 รูปแบบ (สุวิมล ติรกานันท์, 2544,
น. 35) ดังนี้
1) แบบบรรยาย เป็นการใช้ถ้อยค�ำบรรยายความเกี่ยวเน่ือง ล�ำดับก่อน-หลัง และ
ความสัมพันธ์ของตัวแปร ลักษณะน้ีไม่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านมากนัก
2) แบบฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ วิธีน้ีนิยมใช้ในการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ เป็นการพยายาม
อธิบายเร่ืองราวทั้งหมดด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ เช่น
Y = f(P, Q, R, S)
Y = การติดเชื้อเอดส์ของเด็กวัยรุ่น
P = ความรู้เรื่องโรคเอดส์
Q = ค่านิยม
R = ฐานะทางบ้าน
S = อิทธิพลของเพื่อน
จากฟังก์ชนั ทก่ี ำ� หนด หมายความวา่ การติดเชือ้ เอดสข์ องวัยรุน่ ขึ้นอยกู่ บั หรอื มคี วามสัมพนั ธ์
กับตัวแปร ความรู้เร่ืองเอดส์ ค่านิยม ฐานะทางบ้าน และอิทธิพลของเพ่ือน
3) แบบแผนภูมิ เป็นการเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรท่ีต้องการศึกษาแสดง
ล�ำดับการเกิดก่อน-หลังของตัวแปร นอกจากน้ีแผนภูมิที่สร้างข้ึนยังสามารถแสดงความเป็นเหตุเป็นผล
ซึ่งน�ำไปสู่การใช้เทคนิคทางสถิติท่ีเหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
กรอบแนวคิดการวิจัย หรือโมเดลการวิจัย มีความส�ำคัญหลายประการ ดังน้ี
1) ท�ำให้ผู้วิจัยทราบว่าในการวิจัยครั้งนั้นมีตัวแปรอะไรบ้างท่ีจะศึกษา ตัวแปรเหล่านั้นมี
ความสัมพันธ์กันอย่างไร ทางตรงหรือทางอ้อม
2) ท�ำให้ทราบว่าจะเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีใดจึงจะเหมาะสมกับตัวแปรท่ีใช้ในการวิจัย เช่น
ควรเลือกใช้วิธีสังเกต สัมภาษณ์ หรือวิธีอ่ืน ๆ
3) การระบตุ วั แปรทต่ี อ้ งการศกึ ษาจะทำ� ใหท้ ราบวา่ จะออกแบบการวจิ ยั อยา่ งไรจงึ จะเหมาะสม
เพราะตัวแปรแต่ละตัวอาจมีวิธีการวัดท่ีแตกต่างกันออกไป ตัวแปรบางตัวต้องอาศัยการทดลอง หรือตัวแปร
บางตัวต้องอาศัยการเก็บข้อมูลมากกว่าหน่ึงครั้ง
4) เม่ือดูจากระดับตัวแปร และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จะท�ำให้ผู้วิจัยทราบว่า
ควรใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร
5) โมเดลการวจิ ยั จะชว่ ยใหส้ ามารถอธบิ ายความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งตวั แปรตา่ ง ๆ อยา่ งมเี หตผุ ล
ซ่ึงจะช่วยในการตีความหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผลการวิจัยเป็นไปตามโมเดลที่สร้างไว้ แต่ถ้าผลการวิจัย
ไม่สอดคล้องกับโมเดลการวิจัย ผู้วิจัยควรหาเหตุผลอ่ืนมาสนับสนุนผลการวิเคราะห์