Page 63 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 63
แนวคิดเก่ียวกับการวิจัยทางการศึกษา 1-53
ผลการวิจยั สรุปได้ดังนี้
1. สมรรถนะการดูแลอย่างเอื้ออาทรของศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ สมรรถนะละ
10 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านเคารพในคุณค่าความเป็นมนุษย์ 2) ด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 3) ด้าน
การใช้ความรู้และทักษะเชิงวิชาชีพ 4) ด้านความเมตตากรุณาและความเห็นอกเห็นใจ และ 5) ด้านการใส่ใจ
อย่างแท้จริง เกณฑ์การประเมิน คือ ค่าเฉล่ียมากกว่าหรือเท่ากับ 3.50 ขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. รูปแบบการประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอ้ืออาทรสําหรับนักศึกษาพยาบาล ประกอบ
ด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) เป้าหมายของการประเมิน เพื่อใช้ผลการประเมินไปพัฒนาสมรรถนะและจัดทํา
สารสนเทศด้านการดูแลอย่างเอ้ืออาทรของนักศึกษาพยาบาล 2) สิ่งท่ีบ่งประเมินและเกณฑ์การประเมิน
3) วิธีการประเมิน ประกอบด้วย ผู้ประเมิน ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ อาจารย์พ่ีเลี้ยง ผู้ป่วย เพื่อน
นักศึกษา และนักศึกษา เคร่ืองมือประเมิน ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะการดูแลอย่างเอื้ออาทร ระยะเวลา
การประเมิน ประเมินในสัปดาห์ที่ 4 ของการฝึกภาคปฏิบัติ และกระบวนการประเมิน ได้แก่ การวางแผน
การประเมิน การดําเนินการประเมิน การวิเคราะห์และสรุปผลการประเมินโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์
การประเมิน และ 4) การให้ข้อมูลย้อนกลับ ดําเนินการโดยรายงานผลการประเมินสมรรถนะให้ผู้เก่ียวข้อง
รับทราบเพ่ือเป็นข้อมูลและสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาสมรรถนะ
3. ผลการประเมินคุณภาพรูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอ้ืออาทรของนักศึกษา
พยาบาล โดยภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากท่ีสุด โดยด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง และความ
มีประโยชน์อยู่ในระดับมากท่ีสุด ส่วนด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
ตัวอย่างท่ี 11 เป็นการวิจัยเพ่ือพัฒนาระบบสอบแบบปรับเหมาะ การสอบแบบปรับเหมาะมีหลาย
รูปแบบ ผู้วิจัยต้องเลือกรูปแบบที่ต้องการศึกษา เพ่ือพัฒนาแล้วต้องมีการวิเคราะห์ผลการใช้งานระบบ และ
ประเมินระบบฯ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบการทดสอบแบบปรับเหมาะหลายข้ันตอนด้วยวิธีออนเดอะฟลายที่มี
การสะท้อนข้อมูลย้อนกลับในการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพของบุคลากรสาขาไอที (ณภัทร ชัยมงคล, 2558)
วัตถปุ ระสงค์การวิจยั
1. เพอื่ พฒั นาระบบการทดสอบแบบปรบั เหมาะหลายขนั้ ตอนดว้ ยวธิ อี อนเดอะฟลายในการทดสอบ
มาตรฐานวิชาชีพของบุคลากรสาขาไอทีท่ีมีการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับ
2. เพ่ือวิเคราะห์ผลการใช้งานและตรวจสอบคุณภาพของระบบ
3. เพื่อประเมินระบบ โดยแบ่งการด�ำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาระบบ
ระยะท่ี 2 การทดลองใช้ระบบ และระยะท่ี 3 การประเมินผลระบบ
กล่มุ ตัวอยา่ งที่ใช้ในการวิจยั คือ ผู้ท่ีเคยสอบผ่านมาตรฐานวิชาชีพไอที ระดับ IP จ�ำนวน 100 คน
และผู้ท่ีสอบไม่ผ่านมาตรฐานวิชาชีพไอที ระดับ IP จ�ำนวน 100 คน รวมท้ังสิ้น 200 คน เพื่อทดลองใช้งาน
ระบบ