Page 64 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 64
1-54 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพระบบ ประกอบด้วย แบบประเมินระบบแบบอิงมาตรฐาน
แบบประเมินระบบแบบฮิวริสติก และแบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานของอินเตอร์เฟสระหว่างผู้ใช้งาน
กับคอมพิวเตอร์ ส�ำหรับระบบท่ีพัฒนาขึ้นเป็นระบบออนไลน์ซ่ึงพัฒนาด้วยภาษา PHP
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ จ�ำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และตรวจสอบความตรงตามโครงสร้างด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด
ผลการวิจัยโดยสรุป
1. ผลการพัฒนาระบบ พบว่า กระบวนการทำ� งานทสี่ �ำคญั ของระบบประกอบด้วย 6 ข้นั ตอน ได้แก่
1) จุดเร่ิมต้นในการทดสอบ 2) การประมาณค่าความสามารถของผู้สอบ 3) การคัดเลือกข้อสอบ 4) การ
ควบคุมอัตราการเปิดเผยของข้อสอบ 5) การแบ่งช้ันคลังข้อสอบด้วยค่าอ�ำนาจจ�ำแนก และ 6) จุดยุติการ
ทดสอบ และรูปแบบรายงานผลที่สะท้อนข้อมูลย้อนกลับ ประกอบด้วยรายงาน 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) รายงาน
สะท้อนข้อมูลย้อนกลับแบบท่ัวไป และ (2) รายงานผลการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับเพ่ือการพัฒนา
2. ผลการวิเคราะห์การใช้งานระบบเพื่อเปรียบเทียบกลุ่มผู้ท่ีสอบผ่านและผู้สอบไม่ผ่านมาตรฐาน
วิชาชีพไอที ระดับ IP ด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด พบว่า จ�ำนวนขั้นในการทดสอบเฉลี่ย ระดับความสามารถเฉลี่ย
และค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน เฉล่ียระหว่างสองกลุ่มมีค่าไม่แตกต่างกัน เน่ืองจากในการทดสอบ
ครั้งน้ีไม่ได้เป็นการทดสอบท่ีมีผลได้ผลเสีย (high stake) กับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ท�ำให้ค่าระดับความ
สามารถทั้งสองกลุ่มใกล้เคียงกัน แต่เม่ือพิจารณากลุ่มผู้ที่ท�ำงานในสายงานไอทีและไม่ใช่สายงานไอที พบว่า
จ�ำนวนข้ันในการทดสอบเฉลี่ย (t = -3.09, p = 0.00) ระดับความสามารถเฉลี่ย (t = 2.59, p = 0.01) และ
ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานเฉลี่ย (t = -2.21, p = 0.03) ส�ำหรับสองกลุ่มมีค่าแตกต่างกันอย่างมี
นัยส�ำคัญท่ีระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าระบบสามารถจ�ำแนกกลุ่มผู้มีความสามารถท�ำงานด้านไอทีสูงกับ
ผู้ท่ีมีความสามารถท�ำงานด้านไอทีต่ําได้ ดังนั้นระบบนี้จึงเหมาะสมกับการน�ำไปคัดเลือกบุคลากรเพื่อ
เข้าท�ำงานในสายงานไอที
3. ผลการตรวจสอบคุณภาพระบบก่อนน�ำระบบไปใช้งานจริงด้วยการประเมินระบบแบบอิง
มาตรฐาน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าระบบมีความเหมาะสมทั้ง 4 ด้าน โดยด้านท่ีมีผลประเมินสูงสุดคือ ด้าน
ความเปน็ ไปได้ในการน�ำไปใช้ (M = 4.93, SD = 0.21) สำ� หรับผลการประเมินระบบการทดสอบหลงั น�ำระบบ
ไปใช้จริงด้วยแบบประเมินระบบแบบฮิวริสติก พบว่า ความพึงพอใจและการยอมรับปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน
มีความเหมาะสมมากท่ีสุด (M = 4.80, SD = 0.40) และผลการประเมินความพึงพอใจด้วยแบบประเมิน
ความพึงพอใจระหว่างอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้งาน พบว่า การใช้งานของเครื่องมือต่าง ๆ บนหน้าจอมีค่าความ
พึงพอใจสูงสุด (M = 7.81, SD = 0.93)
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องท่ี 1.2.2 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 1.2.2
ในแนวการศึกษาหน่วยท่ี 1 ตอนท่ี 1.2 เรื่องท่ี 1.2.2