Page 51 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 51

5-41

       จากน้ันจึงสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย โดยน�ำผลของแบบทดสอบเพื่อส�ำรวจท่ีไปทดสอบกับกลุ่ม
ตัวอย่างมาพิจารณาหาจุดบกพร่องของการตอบผิดแล้วน�ำไปสร้างเป็นแบบทดสอบวินิจฉัย ท้ังน้ีการสร้าง
ข้อค�ำถามเพ่ือวินิจฉัยจุดบกพร่อง จะคัดเลือกค�ำตอบที่นักเรียนส่วนใหญ่ตอบผิดมาสร้างเป็นตัวลวงใน
แบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียน ข้อค�ำถามจึงสร้างตามสภาพปัญหาท่ีนักเรียนมีจุดบกพร่อง

แนวตอบกิจกรรม 5.2.4
       ผลการหาความตรงตามเน้ือหา โดยการหาค่า IOC แสดงดังตารางต่อไปนี้

ขอ้ สอบ  ค่า IOC       ผลการพิจารณา
 ข้อ 1    0.80              ใช้ได้
 ข้อ 2    0.40
 ข้อ 3    1.00    ควรตัดออก หรือปรับปรุงใหม่
 ข้อ 4    0.60              ใช้ได้
 ข้อ 5    0.60              ใช้ได้
                            ใช้ได้

ตอนท่ี 5.3 การสรา้ งและตรวจสอบคณุ ภาพแบบวัดความสามารถในการคิด

แนวตอบกจิ กรรม 5.3.1
       หลักในการวัดความสามารถในการคิด แบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ
       1. 	แนวทางของนักวัดผลกลุ่มจิตมิติ (psychometric) แนวทางการวัดจิตมิติน้ีเป็นของกลุ่มนักวัด

ทางการศึกษาและจิตวิทยาที่พยายามศึกษาและวัดคุณลักษณะภายในของมนุษย์เป็นเวลามาเกือบศตวรรษ
เริ่มจากการศึกษาและวัดเชาวน์ปัญญา ศึกษาโครงสร้างทางสมองของมนุษย์ด้วยความเชื่อว่ามีลักษณะเป็น
องค์ประกอบและมีระดับความสามารถท่ีแตกต่างกันในแต่ละคน ซ่ึงสามารถวัดได้โดยการใช้แบบสอบ
มาตรฐาน ต่อมาได้ขยายแนวคิดของการวัดความสามารถทางสมองสู่การวัดผลสัมฤทธิ์ บุคลิกภาพ ความ
ถนัด และความสามารถในด้านต่าง ๆ รวมท้ังความสามารถในการคิด

       2. 	แนวทางของการวัดจากการปฏิบัติจริง (authentic performance measurement) แนวทาง
การวัดนี้เป็นทางเลือกใหม่ที่เสนอโดยกลุ่มนักวัดการเรียนรู้ในบริบทที่เป็นธรรมชาติ โดยการเน้นการวัดจาก
การปฏิบัติในชีวิตจริงหรือคล้ายจริงที่มีคุณค่าต่อตัวผู้ปฏิบัติ มิติของการวัดสนใจทักษะการคิดซับซ้อนใน
การปฏิบัติงาน ความร่วมมือในการแก้ปัญหาและการประเมินตนเอง เทคนิคการวัดใช้การสังเกตสภาพงาน
ที่ปฏิบัติจากการเขียนเรียงความ การแก้ปัญหาในสถานการณ์
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56