Page 187 - ความรู้ทั่วไปเกี่ียวกับบรรจุภัณฑ์
P. 187
การพิมพ์และการตกแต่งบรรจุภัณฑ์ 8-53
4) ขอ้ ดแี ละข้อจ�ำ กดั ของการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี
- ข้อดี ได้แก่ พิมพ์ได้ดีบนวัสดุผิวหยาบ ใช้หมึกพิมพ์ฐานนํ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ขอ้ จ�ำ กดั ของการพมิ พเ์ ฟลก็ โซกราฟี คอื แรงกดพมิ พม์ ผี ลตอ่ คณุ ภาพงานพมิ พ์ เนือ่ งจาก
แม่พิมพ์มีลักษณะนุ่ม มีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้นแรงกดพิมพ์ที่มากเกินไปเพียงเล็กน้อยก็ทำ�ให้เกิดเม็ดสกรีนบวมได้
ง่าย และด้วยลักษณะแม่พิมพ์เช่นนี้ยังส่งผลให้การพิมพ์เฟล็กโซกราฟีพิมพ์งานที่มีรายละเอียดสูง ๆ ได้ไม่ดีเท่าการ
พิมพ์ออฟเซตลิโทกราฟี
5) สง่ิ พมิ พบ์ รรจภุ ณั ฑท์ พ่ี มิ พด์ ว้ ยการพมิ พเ์ ฟลก็ โซกราฟี การพมิ พเ์ ฟลก็ โซกราฟสี ามารถพมิ พบ์ น
วัสดุใช้พิมพ์ได้หลายประเภท ดังนั้นจึงสามารถพิมพ์บรรจุภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น กล่องกระดาษแข็ง กล่องกระดาษ
คราฟต์ กล่องกระดาษลูกฟูก ฉลากพลาสติก และถุงหรือซองพลาสติก เป็นต้น
ทีม่ า: มยุรี ภาคลำ�เจียก ภาพท่ี 8.51 ตวั อย่างสิง่ พมิ พเ์ ฟลก็ โซกราฟี
1.2.2 การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ เป็นการพิมพ์พื้นนูนที่เกิดขึ้นเป็นประเภทแรก แม่พิมพ์ทำ�จากโลหะ
หล่อเป็นตัวอักษรเรียกว่า ตัวพิมพ์ (tyre) มีทั้งแบบหล่อทีละตัว และหล่อเป็นแถว ต่อมามีการพัฒนามาใช้แม่พิมพ์
โฟโตพอลิเมอร์ เหมือนการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี
1) หลักการและกระบวนการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ในปัจจุบันมีทั้ง
แบบที่แม่พิมพ์ติดตั้งบนแท่นวางแม่พิมพ์แนวราบและแบบโรตารี คือ แม่พิมพ์ติดบนโลหะทรงกระบอก การพิมพ์
เลตเตอร์เพรสส์เป็นการพิมพ์วิธีตรง แม่พิมพ์สัมผัสกับวัสดุใช้พิมพ์โดยตรง กระบวนการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์เริ่ม
จากแม่พิมพ์รับหมึกจากระบบหมึกซึ่งประกอบด้วยชุดลูกกลิ้งหมึก หมึกพิมพ์ที่ใช้เป็นหมึกพิมพ์ข้น หนืด และเหนียว
ดังนั้นในระบบหมึกจึงมีลูกกลิ้งเป็นจำ�นวนมาก ใช้บดและเกลี่ยหมึกให้เป็นฟิล์มบาง ก่อนถ่ายโอนไปยังวัสดุใช้พิมพ์
โดยมีโมกดพิมพ์ทำ�หน้าที่ให้แรงกดเพื่อถ่ายโอนหมึกพิมพ์
ลขิ สทิ ธ์ิของมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช