Page 197 - ความรู้ทั่วไปเกี่ียวกับบรรจุภัณฑ์
P. 197
การพิมพ์และการตกแต่งบรรจุภัณฑ์ 8-63
2.4.2 การพิมพ์ออฟเซตลิโทกราฟีแบบไร้น้ํา เป็นการพิมพ์ออฟเซตที่พัฒนาขึ้นโดยการไม่ใช้นํ้าใน
การพิมพ์ และมีหลักการของการพิมพ์แตกต่างจากการพิมพ์ออฟเซตแบบดั้งเดิมตรงที่การพิมพ์ออฟเซตไร้นํ้าไม่มี
ระบบทำ�ชื้นในการพิมพ์ที่จะช่วยแยกบริเวณไร้ภาพออกจากบริเวณภาพ ผิวหน้าแม่พิมพ์จึงประกอบด้วยส่วนรับหมึก
และส่วนต่อต้านหมึก ส่วนรับหมึกหรือบริเวณภาพทำ�จากวัสดุประเภทโฟโตพอลิเมอร์ซึ่งมีสมบัติในการรับหมึกพิมพ์
ในขณะทีส่ ว่ นตอ่ ตา้ นหมกึ หรอื บริเวณไรภ้ าพ ทำ�จากวัสดปุ ระเภทยางซิลโิ คน เคลือบบรเิ วณไร้ภาพ ทำ�หน้าที่เหมอื นนํา้
คือ มีสมบัติต่อต้านไม่ยอมให้หมึกพิมพ์มาเกาะ ในการพิมพ์ออฟเซตลิโทกราฟี
หมึกพิมพ์ ยางซิลิโคน
ภาพท่ี 8.69 ผวิ หน้าแม่พิมพอ์ อฟเซตลโิ ทกราฟแี บบไร้น้ํา
ทม่ี า: http://www.brancher.com/-Qu-est-ce-que-le-procede-Waterless-.html?lang=en, Retrieved 28 October 2012
สิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ด้วยการพิมพ์ออฟเซตลิโทกราฟีไร้น้ํา โดยทั่วไปแล้วการพิมพ์นี้สามารถพิมพ์สิ่งพิมพ์
ได้เหมือนการพิมพ์ออฟเซตแบบดั้งเดิมทุกประการ แต่จะมีข้อได้เปรียบกว่า คือ การพิมพ์นี้จะให้ความเข้มของสีหมึก
พิมพ์มากกว่า เนื่องจากไม่มีนํ้าเข้ามีส่วนในการพิมพ์
2.5 การพิมพ์พื้นฉลุ คือ การพิมพ์ที่บริเวณภาพถูกเจาะหรือฉลุให้เป็นช่อง เพื่อให้หมึกพิมพ์สามารถไหล
ลอดผ่านแม่พิมพ์ไปติดยังวัสดุใช้พิมพ์ที่ต้องการได้ ส่วนบริเวณไร้ภาพจะเป็นส่วนที่บังหรือกั้นไม่ให้หมึกผ่าน การ
พิมพ์พื้นฉลุที่ใช้ในการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ คือ การพิมพ์สกรีน ซึ่งการพิมพ์สกรีนแบบเดิมเรียกกันว่า การพิมพ์ซิลค์
สกรีน เนื่องจากใช้เส้นใยไหมมาทำ�เป็นผ้าสกรีน แต่ในปัจจุบันใช้โลหะและพลาสติกที่มีลักษณะเป็นเส้นละเอียดมา
ใช้ในการทำ�แม่พิมพ์ทดแทนผ้าไหม จึงเรียกการพิมพ์นี้ว่า การพิมพ์สกรีน
2.5.1 หลักการและกระบวนการพิมพ์สกรีน การพิมพ์สกรีนเป็นการพิมพ์ที่ใช้แรงกดพิมพ์จากที่
ปาดหมึก คือ ยางปาด ทำ�หน้าปาดหมึกบนผิวหน้าแม่พิมพ์ให้ทะลุผ่านบริเวณภาพที่เป็นช่องของผ้าสกรีนไปติดยัง
วัสดุใช้พิมพ์ที่อยู่ด้านล่างของแม่พิมพ์สกรีน
ยางปาด หมึกพิมพ์
แม่พิมพ์สกรีน วัสดุที่ใช้พิมพ์
ภาพท่ี 8.70 หลักการของการพมิ พ์สกรีน
ทีม่ า: http://www.orange32.com/print/printing101/, Retrieved 31 October 2012
ลิขสทิ ธิข์ องมหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช