Page 21 - วิศวกรรมซอฟต์แวร์
P. 21
กรณีตัวอย่างโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์เช่ารถยนต์ 15-11
สัญญาฉบับน้ีท�ำข้ึนท่ี สัญญาเชา่ รถยนต์
ระหว่าง เม่ือวันท่ี
ซ่ึงต่อไปในสัญญาจะเรียกว่า “ผู้ให้เช่า”
นาย/นาง/นางสาว
ฝ่ายหนึ่ง กับ ซึ่งต่อไปในสัญญาจะเรียกว่า “ผู้เช่า” อีกฝ่ายหนึ่ง
นาย/นาง/นางสาว
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงท�ำสัญญาฉบับนี้ โดยมีเง่ือนไขและรายละเอียดดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ผู้ให้เช่าตกลงให้เช่า และผู้เช่าตกลงเช่ารถ เลขทะเบียน
โดยมีก�ำหนดระยะเวลาเช่า วัน นับต้ังแต่วันที่ ถึงวันที่
ข้อ 2. ผู้เช่าตกลงช�ำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าเป็นรายเดือน ในอัตราวันละ บาท
ข้อ 3. การช�ำระค่าเช่าน้ัน ผู้เช่าจะต้องน�ำเงินค่าเช่าไปช�ำระให้แก่ผู้ให้เช่า ณ สถานที่อันเป็นภูมิล�ำเนา
ของผู้ให้เช่า
ภาพที่ 15.2 ตัวอย่างสญั ญาเช่ารถยนต์
เม่ือด�ำเนินการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องกับการเช่ารถยนต์ และข้อมูลแนวทาง
การใช้งานซอฟต์แวร์เรียบร้อยแล้ว ทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์ได้จัดท�ำเอกสารซึ่งระบุความต้องการของซอฟต์แวร์
โดยมีเน้ือหาเก่ียวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การจ�ำแนกประเภทผู้ใช้งาน ซอฟต์แวร์ระบบจัดเก็บข้อมูลอัตโนมัติจัดแบ่งประเภทผู้ใช้งานออกเป็น
3 ประเภท ตามสิทธิ์ที่สามารถเข้าถึงและใช้งานระบบ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และลูกค้าลงทะเบียน โดยก�ำหนดสิทธ์ิ
ต่าง ๆ ท่ีผู้ใช้สามารถกระท�ำได้กับระบบตามท่ีแสดงในตารางท่ี 15.3
ตารางที่ 15.3 สทิ ธ์ิของผูใ้ ชง้ านทีไ่ ดร้ ับ
ประเภทผูใ้ ช้งาน สิทธิ์ตอ่ ขอ้ มลู ในระบบ
ผู้บริหาร สามารถ ใช้งานซอฟต์แวร์ได้เช่นเดียวกับเจ้าหน้าท่ีแต่ไม่มีสิทธ์ิแก้ไข
เจ้าหน้าท่ี สามารถ สร้าง/บันทึก/แก้ไขข้อมูล ท่ีตนเองเป็นผู้สร้างได้
ลูกค้าลงทะเบียน สามารถ สร้าง/บันทึกข้อมูล ที่ตนเองเป็นผู้สร้างได้
จะเห็นว่ามาตรการควบคุมท่ีก�ำหนดน้ันจะถูกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการในการบริหารจัดการข้อมูลให้มี
ความมั่นคงปลอดภัย โดยจ�ำแนกสิทธิ์ในการสร้าง บันทึก และแก้ไขข้อมูลตามหน้าที่ที่ผู้ใช้งานแต่ละประเภทได้รับ
ลูกค้าลงทะเบียนสามารถเข้าถึงข้อมูลท่ีระบบให้บริการผ่านบริการเว็บและสามารถจองรถที่ต้องการเช่าได้ เจ้าหน้าท่ี
สร้าง บันทึกและแก้ไขข้อมูลการจองรถของลูกค้าท่ีไม่ได้ลงทะเบียนและลูกค้าวอร์คอิน ผู้บริหารสามารถอ่าน บันทึก
และแก้ไขข้อมูลของเจ้าหน้าท่ีซึ่งตนเองดูแลอยู่ได้