Page 36 - เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
P. 36
7-26 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
เร่ืองที่ 7.2.1
โครงสร้างภาพและจอภาพ
การให้บริการสัญญาณโทรทัศน์โดยทั่วไปนั้น จะทำ�การส่งสัญญาณภาพที่มีความละเอียดตํ่ากว่าภาพยนตร์
ค่อนข้างมาก นอกจากนี้อัตราการแสดงภาพของสัญญาณโทรทัศน์นั้นสูงกว่า และขบวนการส่งสัญญาณโทรทัศน์มี
ความซับซ้อนมากกว่าอีกด้วย ทั้งนี้การส่งสัญญาณโทรทัศน์ซึ่งมีความละเอียดของภาพตํ่า ได้ถูกออกแบบมาเพื่อที่
จะลดแบนด์วิดท์สำ�หรับการส่งลง ในเรื่องที่ 7.2.1 นี้ จะอธิบายถึงสัญญาณภาพที่มีความละเอียดมาตรฐานและที่มี
ความละเอียดสูงซึ่งแสดงในระบบโทรทัศน์แบบต่าง ๆ ค่าสัดส่วนจอภาพของโทรทัศน์ที่มีความละเอียดปกติ ระยะ
ห่างที่เหมาะสมระหว่างจอภาพและผู้รับชม เทคโนโลยีของจอภาพ รายละเอียดมีดังต่อไปนี้
1. บริเวณโครงสร้างข้อมลู ภาพทางกายภาพ (physical raster area)
โครงสร้างภาพทางกายภาพได้ให้คำ�จำ�กัดความว่า ภาพเกิดมาจากการนำ�เส้นภาพจำ�นวนจำ�กัดมาเรียงต่อกัน
จากบนลงล่าง และโครงสร้างภาพบนจอโทรทัศน์ประกอบไปด้วย 525 เส้นภาพในระบบ NTSC และ 625 เส้นภาพใน
ระบบ PAL และ SECAM แต่ในความเป็นจริงผู้ชมจะไม่ได้เห็นจำ�นวนเส้นภาพทั้งหมด 525 เส้นภาพ หรือ 625 เส้น
ภาพบนเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ ในการถ่ายทอดสัญญาณในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้ระบบ NTSC โครงสร้าง
ภาพทีจ่ อโทรทศั นจ์ ะมขี นาดใหญก่ วา่ สญั ญาณภาพทีถ่ กู สง่ มา กลา่ วคอื โครงสรา้ งภาพบนฉากจอมจี ำ�นวน 525 เสน้ ภาพ
แต่ทว่าสัญญาณภาพที่ถูกส่งมามีขนาด 480 เส้นภาพ หากเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในทวีปยุโรป ซึ่งใช้ระบบ PAL
หรือ SECAM โครงสร้างภาพบนจอโทรทัศน์จะอยู่ที่ 625 เส้นภาพ ในขณะที่สัญญาณภาพที่ถูกส่งเข้ามาจะอยู่ที่ 576
เส้นภาพ
ทั้งนี้สัญญาณภาพที่มีขนาด 480 เส้นภาพนี้ ได้ถูกพิจารณาให้เป็นค่ามาตรฐานของระบบ NTSC ในกรณีที่
มีจำ�นวนเส้นภาพที่มองเห็นได้ (visible line) มากกว่า 482 เส้นภาพ อาจจะต้องทำ�การตัดบางส่วนของภาพออกไป
การกำ�หนดจำ�นวนเส้นภาพให้มีลักษณะตายตัวเช่นนี้ เป็นเพราะว่า ปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์ทางด้านวิดีโอและซอฟต์แวร์ที่
ใช้จัดการวิดีโอใช้กันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นจึงควรกำ�หนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของภาพวิดีโอ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
เพื่อสะดวกในการใช้ทั่วโลก
เมื่อพิจารณาเวลาที่สูญเสียไปในขณะสแกนภาพ มีเวลาสองชนิดที่ควรจะกล่าวถึงคือ
1. เวลาช่องว่างระหว่างภาพ (vertical blanking time) ซึ่งเปน็ ช่วงเวลาทีล่ ำ�แสงอิเลก็ ตรอนจากหลอด CRT
เดินทางจากมุมขวาล่างของฉากจอ ย้อนกลับไปยังจุดมุมซ้ายบนของฉากจอ
2. เวลาที่ใช้ขึ้นเส้นภาพใหม่ตามแนวขวาง (horizontal fly-back time) เนื่องจากภาพได้ถูกสแกนจากซ้าย
สุดของเส้นภาพไปยังขวาสุดของเส้นภาพ จากนั้นจึงขึ้นเส้นภาพใหม่ ทำ�ให้มีการสูญเสียเวลาตามแนวขวางไปบางส่วน
หากรวมเวลาทั้งสองชนิดนี้เข้าด้วยกัน จะคิดเป็นระยะเวลาประมาณ 8% ของเวลาที่ใช้สร้างภาพ 1 ครั้ง
ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นข้อมูลจำ�เพาะของโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก แต่ทว่าในระบบโทรทัศน์ดิจิทัลไม่ได้ต้องการ
การย้อนกลับไปขึ้นเส้นภาพใหม่ ดังนั้นจึงไม่ต้องคำ�นวณเวลาที่เสียไปตอนขึ้นเส้นภาพใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ระบบ
โทรทัศน์ดิจิทัลต้องทำ�ให้แน่ใจว่า พื้นที่ภาพที่กำ�ลังใช้งานอยู่ สามารถใช้งานบนระบบโทรทัศน์แอนะล็อกได้ด้วย
ภาพที่ 7.11 แสดงโครงสรา้ งของภาพทางกายภาพและอธบิ ายถงึ บรเิ วณทีถ่ กู ระบใุ หเ้ ปน็ ชอ่ งวา่ งทีเ่ สยี ไป เพือ่ จะพจิ ารณา
ว่าบริเวณโครงสร้างภาพที่พร้อมใช้งานเหลืออยู่มากเท่าไร