Page 49 - เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
P. 49
เทคโนโลยีวีดิทัศน์ 7-39
นอกจากนแ้ี ล้ว สัญญาณ composite จะตอ้ งนำ�ไปผา่ นกระบวนการเขา้ รหสั และถอดรหัส (encoding-decoding)
ซงึ่ จะซบั ซอ้ นกวา่ สญั ญาณวดิ โี อแบบ component ทส่ี ญั ญาณแสง 1 ชอ่ งสญั ญาณ และสญั ญาณสี 2 ชอ่ งสญั ญาณ
จะถกู สง่ ผา่ นสายเคเบิลไปยังผู้รับโดยตรง
เรอื่ งท่ี 7.2.3
การแปลงสัญญาณภาพแอนะล็อกใหเ้ ปน็ สญั ญาณภาพดิจิทลั
เนื่องด้วยคุณสมบัติความต่อเนื่องของสัญญาณแอนะล็อก ส่งผลให้สัญญาณภาพโทรทัศน์แอนะล็อกมีความ
ละเอียดสูงมาก เมื่อทำ�การกระจายสัญญาณภาพแอนะล็อกไปยังเครื่องรับสัญญาณ จำ�เป็นต้องมีกระบวนการปรับ
สัญญาณภาพแอนะล็อกให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อจะแสดงภาพบนจอที่มีความละเอียดจำ�กัดได้ แนวคิดนี้นำ�ไปสู่การ
สุม่ ตัวอยา่ ง (sampling) จากสัญญาณแอนะล็อก และการแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เปน็ สัญญาณดิจทิ ลั ซึ่งจะทำ�ให้
เกิดความเข้าใจในเรื่องภาพดิจิทัลและวิดีโอดิจิทัล ในเรื่องนี้ จะให้คำ�อธิบายเกี่ยวกับกระบวนการแปลงข้อมูลไปเป็น
รูปแบบดิจิทัล นอกจากนี้แล้วยังให้ตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่ใช้กับภาพวิดีโอและไฟล์มัลติมีเดียด้วย รายละเอียดมีดัง
ต่อไปนี้
1. การแปลงสัญญาณแอนะล็อกใหเ้ ปน็ สัญญาณดิจิทลั
ปัจจุบันนี้ การกระจายสัญญาณภาพในประเทศต่าง ๆ ยังคงใช้สัญญาณระบบแอนะล็อก แต่ทว่าเป็นการ
สะดวกมากกว่าที่จะดำ�เนินการบนสัญญาณวิดีโอแบบแอนะล็อกโดยใช้เทคนิคดิจิทัล ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำ�คัญที่จะ
ต้องหาวิธีการแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อดำ�เนินการแก้ไขตลอดจนบีบอัดข้อมูลดิจิทัลนั้น
แล้ว จะต้องแปลงกลับไปให้อยู่ในรูปสัญญาณแอนะล็อกอีกครั้ง เพื่อที่จะส่งสัญญาณต่อไปยังเครื่องรับสัญญาณซึ่ง
อยู่ในระบบแอนะล็อก ต่อไปจะอธิบายถึงกระบวนการแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัลหรือที่เรียกว่า
การดิจิไทซ์ (digitization) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.1 รูปแบบข้อมูลวิดีโอท่ีใช้สัญญาณแอนะล็อก สัญญาณวิดีโอ มีลักษณะเป็นความเข้มของแสง ซึ่งมีการ
เปลี่ยนแปลงของค่าความเข้มในลักษณะต่อเนื่อง ทั้งนี้ความเข้มแสงถูกตรวจจับโดยกล้องถ่ายรูปและกล้องถ่ายรูป
ในยุคแรกรับสัญญาณในลักษณะภาพขาวดำ� ดังนั้นจึงใช้ช่องสัญญาณเพียง 1 ช่องสัญญาณ ต่อมาภายหลัง กล้อง
ถ่ายรูปได้รับการพัฒนาให้สามารถรับสัญญาณภาพสีได้ และภาพสีประกอบไปด้วย สีพื้นหลักคือ แดง เขียว นํ้าเงิน
ดังนั้นจึงมีช่องสัญญาณ 3 ช่อง ทั้งนี้การเลือกสีพื้นหลักเป็นสีแดง เขียว นํ้าเงิน เพราะว่าสีต่าง ๆ เกิดมาจากการผสม
กันของแหล่งของแสง 3 แสง เช่น แสงสีเขียวผสมกับแสงสีแดงเท่ากับแสงสีเหลือง
บอ่ ยครัง้ ทีส่ ญั ญาณวดิ โี อถกู แทนดว้ ยสว่ นประกอบทีเ่ กีย่ วกบั ระดบั ความสวา่ งซึง่ รูจ้ กั ในคา่ luma ซึง่ มาพรอ้ ม
กับส่วนประกอบที่เกี่ยวกับสีซึ่งรู้จักในค่า chroma สองส่วนประกอบนี้จะอยู่แยกจากกัน และเมื่อถูกเปรียบเทียบกับ
สัญญาณภาพสีในระบบ RGB การแทนภาพสีในระบบ luma และ chroma นี้ เป็นวิธีที่ซับซ้อนกว่า แต่ทว่าก็มีข้อดี
คือ ใช้ทรัพยากรในการจัดเก็บข้อมูลที่น้อยกว่าภาพสีในระบบ RGB