Page 23 - การวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
P. 23
14-13
เร่อื งที่ 14.1.2 ส่วนประกอบของการเขยี นรายงานการวิจัย
และพฒั นาเทคโนโลยีและสือ่ สารการศึกษา
สาระสงั เขป
ส่วนประกอบในการเขียนรายงานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สรุปสาระ
ส�ำคัญ ดังน้ี
1. ปกหน้าและปกรอง ประกอบด้วย ชื่อ รายงานวิจัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เกือบล่างสุดถัด
ลงมาตรงกลางหน้ากระดาษ ค�ำน�ำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล หน่วยงานหรือองค์กรที่ท�ำวิจัย และปีท่ีท�ำวิจัย
2. บทคดั ยอ่ เปน็ การน�ำเสนอเฉพาะสาระส�ำคญั ของงานวจิ ยั อาจประกอบดว้ ยวตั ถปุ ระสงคก์ ารวจิ ยั
การด�ำเนินการวิจัย และผลการวิจัย
3. ค�ำน�ำหรอื กติ ตกิ รรมประกาศ ค�ำน�ำ เปน็ สว่ นทบ่ี อกใหท้ ราบถงึ ทม่ี าผวู้ จิ ยั ท�ำเรอื่ งนี้ กติ ตปิ ระกาศ
คือ การกล่าวขอบคุณผู้ท่ีเกี่ยวข้องนี้ท�ำให้งานวิจัยส�ำเร็จลุล่วงด้วยดีเช่นกัน
4. สารบัญ เป็นส่วนช่วยให้ผู้อ่านอ่านงานวิจัยเร็วข้ึน ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกจะบอกถึง
บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ บทแต่ละบทในงานวิจัย ภาคผนวก และประวัติของผู้วิจัย ส่วนท่ีสอง สารบัญ
ตารางที่ปรากฏในบางตาราง และส่วนที่สามเป็นส่วนท่ีแสดงภาพหรือแผนผัง
5. บทที่ 1 บทน�ำ ประกอบด้วย ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์การวิจัย
สมมติฐานการวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย นิยามศัพท์ และประโยชน์ที่ได้รับ
6. บทที่ 2 วรรณกรรมที่เก่ียวข้อง เป็นส่วนน�ำเสนอสิ่งท่ีผู้วิจัยไปค้นคว้าแต่ต้องมีความเก่ียวข้อง
งานวิจัย
7. บทท่ี 3 วิธีการด�ำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เครื่องมือ
การวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
8. บทท่ี 4 การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการน�ำเสนอข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลตามเครื่องมือการวิจัย
และตามวัตถุประสงค์การวิจัย
9. บทท่ี 5 ต้นแบบช้ินงานหรือผลการวิจัยที่เป็นการน�ำต้นแบบชิ้นงานท่ีสร้างขึ้นมาเป็นส่วนส�ำคัญ
ของงานวิจัย ประกอบด้วย คู่มือการใช้นวัตกรรมส�ำหรับผู้สอน คู่มือการเรียนด้วยนวัตกรรมส�ำหรับผู้เรียน
และรายละเอียดของต้นแบบชิ้นงาน
10. บทที่ 6 สรุปการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ส่วนแรก คือ สรุปการวิจัยครอบคลุม
วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐานการวิจัย การด�ำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างใน
การวิจัย เคร่ืองมือการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิจัย ส่วนท่ีสอง คือ
อภิปรายผล เป็นการให้ผู้อ่านงานวิจัยได้ทราบถึงผลการวิจัยที่เป็นเช่นน้ัน เพราะเหตุผลอะไร และตรงกัน