Page 5 - ประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจไทย
P. 5

(3)

                          ค�ำน�ำ

       การเมืองและเศรษฐกิจถือเป็นประเด็นท่ีเก่ียวข้องกับบุคคลทุกคนในสังคมในทางใดทางหน่ึง
ไม่มากก็น้อย โดยลักษณะทางการเมืองและเศรษฐกิจต่างมีความสัมพันธ์หรือส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน
กล่าวคือ รูปแบบทางการเมืองที่แต่ละสังคมก�ำหนดใช้ในการปกครองนั้น เป็นปัจจัยส�ำคัญในการเลือกใช้
รูปแบบทางเศรษฐกิจ เช่น สังคมใดท่ีปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รูปแบบเศรษฐกิจน้ันมัก
จะเป็นแบบพอยังชีพ อันเน่ืองมาจากสภาพสังคมท่ีซับซ้อนไม่มากนัก แต่หากสังคมใดปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย ลักษณะทางเศรษฐกิจก็มักจะเป็นแบบทุนนิยม เป็นต้น ในทางกลับกัน ความม่ันคั่งอันเกิด
จากเสถียรภาพทางเศรษฐกิจย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในทางการเมืองด้วย

       จากลกั ษณะความสมั พนั ธท์ างการเมอื งและเศรษฐกจิ ดงั กลา่ วนี้ เปน็ แนวคดิ สำ� คญั ในการนำ� เสนอ
เน้ือหาในชุดวิชาน้ี ชุดวิชาประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจไทยมุ่งน�ำเสนอพัฒนาการทางประวัติ-
ศาสตร์ในด้านการเมืองและเศรษฐกิจตั้งแต่สมัยจารีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์
เป็นส�ำคัญ ทั้งน้ีเพ่ือให้นักศึกษาและผู้ท่ีสนใจได้เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจ
ในกระแสประวัติศาสตร์ไทย ตลอดจนเข้าใจองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์บางประการท่ีต่างจากการ
รับรู้มาแต่เดิม ซึ่งน�ำไปสู่เป้าหมายสูงสุดของชุดวิชาน้ีคือ การเข้าใจสภาพการเมืองและเศรษฐกิจไทยใน
ปัจจุบัน พร้อมกับมองเห็นแนวโน้มการเปล่ียนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และอาจรวมไปถึงสภาพ
สังคมในอนาคตจากข้อสนเทศทางประวัติศาสตร์ท่ีมีอยู่

       คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจไทยหวังเป็นอย่างย่ิงว่า
นกั ศกึ ษาและผู้ท่สี นใจจะได้รบั ประโยชน์จากการศึกษาเนอื้ หาสาระเพื่อให้เกดิ สมั ฤทธผิ ลตามวตั ถปุ ระสงค์
ของชดุ วชิ า หากนกั ศกึ ษาหรอื ผทู้ ส่ี นใจมขี อ้ เสนอแนะเพมิ่ เตมิ เกย่ี วกบั เนอื้ หาในชดุ วชิ านี้ ทางคณะกรรมการ
ก็พร้อมยินดีท่ีจะรับฟังเพ่ือน�ำไปปรับปรุงและพัฒนาให้ดีย่ิงข้ึนในโอกาสต่อไป

                                                                  คณะกรรมการกลมุ่ ผลิต
                                                    ประวัติศาสตร์การเมอื งและเศรษฐกจิ ไทย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10