Page 164 - ความรู้ทั่วไปเกี่ียวกับบรรจุภัณฑ์
P. 164

8-30 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์

       2.2 	การลงเม็ดสกรีน เป็นขั้นตอนการทำ�ให้ภาพต้นฉบับที่เป็นภาพนํ้าหนักสีต่อเนื่องเกิดเป็นภาพฮาล์ฟโทน
(halftone) ด้วยวิธีการใช้เม็ดสกรีนแทนนํ้าหนักสีบริเวณต่าง ๆ ในภาพ ลักษณะของเม็ดสกรีนที่นิยมใช้มี 2 แบบคือ
สกรีน AM (AM screen) และสกรีน FM (FM screen)

            2.2.1 	สกรนี AM มลี กั ษณะของเมด็ สกรนี ดงั นี้ เมด็ สกรนี มขี นาดแตกตา่ งกนั แตจ่ ะมรี ะยะหา่ งระหวา่ ง
เม็ดสกรีนและจำ�นวนเม็ดสกรีนเท่ากัน ทั้งในบริเวณสว่าง (highlight) และบริเวณเงา (shadow) ในภาพพิมพ์

            2.2.2 	สกรีน FM มีลักษณะของเม็ดสกรีนดังนี้ เม็ดสกรีนมีขนาดใกล้เคียงกันทั้งในบริเวณสว่างและ
บริเวณเงาของภาพพิมพ์ แต่มีระยะห่างระหว่างเม็ดสกรีนในบริเวณสว่างของภาพห่างมากกว่าบริเวณเงาของภาพ และ
จำ�นวนเม็ดสกรีนในบริเวณสว่างของภาพมีน้อยกว่าในบริเวณเงาของภาพ

	  ก. สกรีน AM 	  ข. สกรีน FM

                 ภาพที่ 8.26 เปรยี บเทียบลักษณะของเมด็ สกรนี ระหว่างสกรนี AM กับสกรนี FM

ทีม่ า: http://www.tu-harburg.de/rzt/tuinfo/periph/drucker/Color_Reproduktion/, Retrieved 12 June 2012

            ความละเอียดสกรีน มีหน่วยเป็น เส้นต่อนิ้ว (line per inch) หรือเส้นต่อเซนติเมตร (line per centi-
meter) ค่าจำ�นวนเส้นสูง แสดงว่ามีจำ�นวนเส้นต่อความยาวมาก และมีความละเอียดกว่าค่าจำ�นวนเส้นตํ่า ปัจจัยการ
เลอื กใชค้ วามละเอยี ดของสกรีน ขึน้ กับระบบการพิมพ์ แม่พิมพ์ วสั ดใุ ช้พิมพ์ ตัวอย่างเช่น การพมิ พ์ออฟเซตลโิ ทกราฟี
สามารถเลือกใช้ความละเอียดของเม็ดสกรีนได้สูงกว่าการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์พอลิเมอร์ไวแสง

   ลขิ สิทธข์ิ องมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169