Page 17 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 17

สัมมนาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ 4-7

       ฮาร์วิกเฮิร์สท (Havighurst, 1972 อ้างใน สมคิด อิสระวัฒน์ 2543: 24) กล่าวว่า ผู้ใหญ่ คือ บุคคล
ซึ่งผ่านขั้นตอนในชีวิตดังนี้

            1) 	 เริ่มมีอาชีพ มีการเลือกคู่ชีวิต เริ่มต้นมีครอบครัว
            2) 	 มีบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
       โรเจอร์ (Roger 1986: 5-6 อ้างใน สุวัฒน์ วัฒนวงศ์ 2544: 286-287) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ
ผู้ใหญ่ว่า
            ประการแรก เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับขั้นตอน (Stage) หนึ่งในชีวิตของแต่ละบุคคลนั้นเอง
โดยที่เริ่มผา่ นจากขั้นตอนที่เปน็ เด็กเข้าสูข่ ั้นตอนความเปน็ หนุ่มสาวแล้วเข้าสู่ขัน้ ตอนความเปน็ ผูใ้ หญ่ในทีส่ ดุ
            ประการที่สอง เป็นการพิจารณาจากสถานภาพ หรือฐานะ (Status) เมื่อบุคคลเข้าสู่ความ
เป็นผู้ใหญ่แล้ว เขาย่อมจะได้รับการยอมรับจากสังคมที่เขามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง และคนในสังคมนั้น
จะให้การยอมรับว่าบุคคลนั้นแตกต่างจากเด็ก เพราะคนที่เป็นผู้ใหญ่แล้วย่อมจะมีอุดมการณ์และค่านิยม
(Ideals and Values) เหมาะสมกับสถานภาพความเป็นผู้ใหญ่ด้วย
       เชียรศรี วิวิธสิริ (2527: 36 อ้างใน สุวัฒน์ วัฒนวงศ์ 2544: 35) กล่าวไว้ว่า ผู้ใหญ่นั้น หมายถึง
บุคคลซึ่งมีพัฒนาการไปพร้อมกันทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ตลอดจนบทบาททางสังคมสมบูรณ์
เต็มที่ สามารถรับผิดชอบและดำ�เนินชีวิตและกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับผู้ใหญ่อื่นๆ ได้ด้วยความราบรื่น
       สมคิด อิสระวัฒน์ (2543: 24) ให้คำ�จำ�กัดความของคำ�ว่าผู้ใหญ่ว่า คือ บุคคลซึ่งมีอาชีพ มีรายได้
รับผิดชอบชีวิตของตนและมีหลายบทบาทหลายหน้าที่ในคนเดียวกัน
       ความหมายหรือคำ�จำ�กัดความของวัยผู้ใหญ่ที่นำ�มากล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นของนักการศึกษา
ผู้ใหญ่ซึ่งมีรายละเอียด และสาระสำ�คัญ ทั้งที่แตกต่างกันและสอดคล้องกัน ผู้เขียนขอสรุปความหมายของ
“วัยผู้ใหญ่” ไว้ดังนี้
       วัยผู้ใหญ่ คือ บุคคลที่เริ่มมี บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและต่อสังคม มีวุฒิ
ภาวะ มีความรู้ ประสบการณ์ที่สั่งสมมา มีอาชีพ และรายได้เป็นของตนเองและผู้อื่นได้
       1.2 	การแบ่งช่วงอายุของวัยผู้ใหญ่ มีนักจิตวิทยา และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาและจิตวิทยาวัย
ผู้ใหญ่และกฏหมายไทย ได้แบ่งช่วงอายุระยะพัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ ไว้ดังนี้
       ประเทศไทยได้นิยามคำ�ว่า “ผู้สูงอายุ” ในความหมายของการแบ่งช่วงอายุไว้ในพระราชบัญญัติผู้สูง
อายุ พ.ศ. 2546 ว่าหมายถึง “ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป”
       ปฐม นิคมานนท์ (2542: 89) ได้กล่าวถึงการแบ่งช่วงของผู้ใหญ่ออกเป็น 3 กลุ่มอายุ ตามระดับของ
พัฒนาการด้านสรีรวิทยาและจิตวิทยา ดังนี้
            1) 	 ผู้ใหญ่วัยต้น (Early Adulthood) อายุระหว่าง 18-35 ปี โดยประมาณ
            2) 	 ผู้ใหญ่วัยกลาง (Middle Adulthood) อายุระหว่าง 35-60 ปี โดยประมาณ
            3) 	 ผู้ใหญ่วัยสูงอายุ (Late Adulthood) อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
       เลอวินสัน (Levinson 1978 อ้างอิงใน เรย์ วูลฟ์ และวินดี้ ดรายเด็น (Ray Woolfe and Windy
Dryden) 1996: 357) ได้แบ่งชั้นของอายุของบุคคลวัยผู้ใหญ่ ซึ่งเรียกกันว่า ขั้นตอนชีวิตของเลอวินสัน
(Levinson’s life stages) ไว้ดังนี้
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22