Page 40 - สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ
P. 40

3-30 สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ

โครงสร้างจานแม่เหลก็ โดยทั่วไปมีส่วนประกอบดังนี้

       ชอ่ื ส่วนประกอบ                               ค�ำ อธิบาย

แพลตเตอร์ (platter)      ส่วนของจานแม่เหล็กแต่ละจานซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองด้าน
แทรค (track)             พื้นที่เก็บข้อมูลตามแนวเส้นรอบวงบนแพลตเตอร์นั้น
เซ็กเตอร์ (sector)       ส่วนของแทรคที่แบ่งพื้นที่เก็บข้อมูลย่อยออกเป็นท่อนเหมือนกับดิสเก็ตต์
ไซลินเดอร์ (cylinder)    แทรคที่อยู่ตรงกันของแต่ละแพลตเตอร์ (แต่ละจาน)
หัวสำ�หรับอ่านหรือเขียน  หัวสำ�หรับอ่าน/เขียนข้อมูลบนแพลตเตอร์
(read/write head)

                              ภาพท่ี 3.16 แสดงโครงสรา้ งภายในจานแมเ่ หล็ก

       การท�ำ งานของจานแม่เหลก็
       การทำ�งานของจานแม่เหล็กนั้น ตัวแผ่นจานจะหมุนเร็วมาก (หลายพันถึงกว่าหมื่นรอบต่อนาที) โดยที่หัว
อ่าน/เขียน ซึ่งเป็นอุปกรณ์แม่เหล็กจะลอยเหนือแผ่นแพลตเตอร์ทั้งสองด้านในระยะห่างที่เล็กกว่าขนาดของเส้นผม
มนุษย์ การทำ�งานจะอาศัยการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก โดยที่หัวอ่าน/เขียน
จะไม่มีโอกาสสัมผัสกับผิวของแพลตเตอร์แต่อย่างใด เพื่อป้องกันการกระทบกับผิวของแพลตเตอร์ ซึ่งจะทำ�ให้
ข้อมูลบนแผ่นเสียหายได้ ปัจจุบันมีผู้ผลิตจานแม่เหล็กออกมาจำ�หน่ายมากมาย ซึ่งแต่เดิมมีความจุไม่มากเท่าไร แต่
ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ดีกว่าเดิม ทำ�ให้การจัดเก็บข้อมูลของจานแม่เหล็กมีขนาดความจุที่มากขึ้นในระดับ
หลายร้อย กิกะไบต์ (109 ไบต์ซึ่งมากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์นับแสนเท่า) และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งสามารถรองรับ
การเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่หรือไฟล์ประเภทมัลติมีเดียต่าง ๆ เช่น ไฟล์ภาพยนตร์ วิดีโอ เสียงเพลง ภาพกราฟิกได้
อย่างเพียงพอ การเลือกซื้อจานแม่เหล็กมาใช้งาน อาจไม่จำ�เป็นต้องคำ�นึงถึงความจุข้อมูลที่มากเกินความจำ�เป็นก็ได้
แต่ควรคำ�นึงถึงรูปแบบการทำ�งานเป็นหลักว่า มีความต้องการบันทึกข้อมูลประเภทใด และจานแม่เหล็กที่ใช้อยู่นั้น
เพียงพอหรือไม่ ซึ่งหากไม่พอก็สามารถหาหรือเลือกซื้อจานแม่เหล็กแบบถอดได้มาเพิ่มเติม
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45