Page 16 - เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
P. 16
7-6 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
โทรทศั น์ท่ีใชห้ ลอดรงั สแี คโทด
ตัวรับสัญญาณโทรทัศน์ คือ หลอดแก้วที่มีรูปร่างดังแสดงในภาพที่ 7.1 ด้านหลังมีที่ปล่อยอิเล็กตรอน
(electron gun) ในที่นี้คือรังสีแคโทด ซึ่งรังสีแคโทดปล่อยออกมาเป็นกระแสอิเล็กตรอน (stream of electrons)
บริเวณพื้นผิวฉาบหน้า (screen) ถูกชาร์จด้วยประจุบวก ซึ่งจะดึงดูดอิเล็กตรอนที่เป็นประจุลบ พื้นผิวฉาบหน้าถูก
เคลือบด้วยสารประกอบฟอสเฟอร์ (phosphor compound) ซึ่งสารประกอบนี้แปลงพลังงานจลน์ (kinetic energy)
ของการชนกันของอิเล็กตรอนให้เป็นแสงสว่างของภาพ แต่ทว่าแสงสว่างนี้มีความวูบวาบและคงอยู่เพียงเสี้ยววินาที
Cathode Beam
Focus Deflection Screen
electrodes
ภาพท่ี 7.1 แสดงลกั ษณะรปู รา่ งของหลอดรงั สแี คโทด (CRT)
หากต้องการให้มีการแสดงภาพอย่างต่อเนื่อง ภาพต้องถูกสร้างใหม่ (refresh) หลายครั้งในหนึ่งวินาที ดังนั้น
อัตราการสร้างภาพใหม่ (refresh rate) จึงขึ้นอยู่กับการคงอยู่ (persistence) ของระดับสารฟอสเฟอร์ ดังแสดงใน
ภาพที่ 7.2 หากระดับสารฟอสเฟอร์ลดลงอย่างรวดเร็ว จำ�เป็นต้องมีการสร้างภาพใหม่ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้การ
แสดงภาพเปน็ ไปอยา่ งต่อเนือ่ ง ทั้งนี้อตั ราการสร้างภาพใหมจ่ ะบง่ บอกถงึ จำ�นวนครั้งในการสร้างภาพใหม่ต่อหนึ่งวนิ าที
Intensity Persistance
Excitation
Fluorescence Phosphorescence
Time
ภาพท่ี 7.2 กราฟแสดงการคงอยขู่ องระดับสารฟอสเฟอร์เมื่อเทยี บกับเวลา
2. วดิ โี อดิจิทลั
วิดีโอดิจิทัลเกิดจากกล้องถ่ายภาพดิจิทัลสร้างภาพดิจิทัลขึ้นมา ทั้งนี้ภาพดิจิทัลประกอบไปด้วยกลุ่ม
ของพิกเซลและแต่ละพิกเซลจะบรรจุข้อมูลสีเอาไว้ ในยุคเริ่มแรกอาจจะมีความรู้สึกว่าภาพดิจิทัลด้อยกว่าภาพ
แอนะล็อก เนื่องจากภาพแอนะล็อกมีความละเอียดที่ไม่จำ�กัด ในขณะที่ภาพดิจิทัลมีความละเอียดจำ�กัดที่ถูกกำ�หนด
ตายตัวไว้แล้ว และถ้าหากนำ�ภาพดิจิทัลไปขยายให้มีขนาดภาพใหญ่ขึ้น ก็จะสูญเสียคุณภาพของภาพไป แต่อย่างไร
กต็ าม ในทางปฏบิ ตั ภิ าพแอนะลอ็ กทีม่ คี วามละเอยี ดสงู ไมไ่ ดม้ ปี ระโยชนอ์ นั ใดมากนกั เพราะวา่ ผูช้ มมองภาพแอนะลอ็ ก