Page 23 - เทคโนโลยีกระบวนการพิมพ์
P. 23

เทคโนโลยีการพิมพ์ออฟเซตไม่ใช้นํ้า 4-15

เร่อื งท่ี 4.1.3
เทคโนโลยีเครอ่ื งพิมพ์ออฟเซตแห้ง

       เครื่องพิมพ์ออฟเซตแห้งที่ใช้กันในอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์คงรูป เช่น
กระป๋องโลหะ ถ้วยพลาสติก เป็นต้น และมักเป็นเครื่องพิมพ์หลายสีที่มีโครงสร้างเครื่องพิมพ์ให้พิมพ์ภาพสีทุกสี
ถ่ายทอดลงบนโมยางโมเดียวก่อนแบบเปียกทับเปียก (wet on wet) แล้วถ่ายทอดภาพทุกสีลงบนวัสดุใช้พิมพ์ใน
คราวเดียว (single pass) ซึ่งหมึกพิมพ์จะแห้งตัวหลังการถ่ายโอนลงบนวัสดุใช้พิมพ์ ส่วนใหญ่หมึกพิมพ์ที่ใช้เป็น
หมึกพิมพ์ทึบแสง (opaque ink) ขั้นตอนงานก่อนพิมพ์จะต้องแยกสีแต่ละสีให้ชัดเจนสำ�หรับหมึกพิมพ์สีพิเศษ (spot
color ink) โดยไม่มีบริเวณที่หมึกพิมพ์พิมพ์ซ้อนทับกัน นอกจากนี้ เครื่องพิมพ์ออฟเซตแห้งยังมีการใช้ในการพิมพ์
สิง่ พมิ พก์ นั ปลอม เชน่ ธนบตั ร เชค็ แสตมป์ เปน็ ตน้ ในทีน่ ี้ ขอยกตวั อยา่ งเครือ่ งพมิ พอ์ อฟเซตแหง้ สำ�หรบั พมิ พบ์ นถว้ ย
พลาสติก (cup printing machine) และท่อพลาสติก (tube printing machine) ซึ่งโครงสร้างหลักของเครื่องพิมพ์
ประกอบด้วย ส่วนป้อน (feeding unit) และส่วนพิมพ์ ดังนี้

1. ส่วนปอ้ น

       เครื่องพิมพ์ออฟเซตแห้งส่วนใหญ่ออกแบบสำ�หรับใช้พิมพ์ถ้วย ท่อพลาสติก หรือกระป๋องที่ขึ้นรูปมาแล้ว
จึงอาจเรียกว่า เป็นการพิมพ์บนรูปทรงสามมิติ (3D printing) และสามารถพิมพ์ได้โดยรอบวัสดุใช้พิมพ์หรือ 360
องศา ในส่วนป้อนมีส่วนติดตั้งวัสดุใช้พิมพ์ทำ�หน้าที่ยึดจับวัสดุใช้พิมพ์ให้อยู่กับที่ขณะเข้าไปพิมพ์ ส่วนติดตั้งนี้มีแกน
(mandrel) ที่มีรูปทรงตามรูปทรงวัสดุใช้พิมพ์เพื่อให้วัสดุใช้พิมพ์สามารถสวมเข้าแกนติดตั้งวัสดุใช้พิมพ์ได้พอดี โดย
รับวัสดุใช้พิมพ์ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงถ้วย หรือท่อมาจากส่วนป้อนวัสดุใช้พิมพ์ เครื่องพิมพ์บางรุ่นจะมีส่วนป้อนวัสดุ
ใช้พิมพ์ที่ออกแบบให้สามารถเรียงถ้วยพลาสติกซ้อนตั้งกันเป็นแถว เมื่อป้อนแถววัสดุใช้พิมพ์หมดแถว แถวถัดไปจะ
เข้ามาแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28