Page 5 - การอ่านภาษาไทย
P. 5
(3)
ค�ำน�ำ
มนุษยชาติทุกชั้นชนย่อมเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การอ่านเป็นวิธีการส�ำคัญในการศึกษาหาความรู้
การปฏิบัติงาน การเสริมสร้างประสบการณ์และความคิดที่จะช่วยพัฒนาผู้อ่านไปสู่ความรอบรู้และความ
เจริญงอกงามทางสติปัญญา ชุดวิชาการอ่านภาษาไทยจึงเป็นชุดวิชาหน่ึงในชุดวิชาแกนของสาขาวิชา
ศิลปศาสตร์ ทีจ่ ัดทำ� ขน้ึ เพอ่ื ใหน้ ักศกึ ษาสามารถนำ� ความรูไ้ ปประยุกตก์ ับการดำ� เนินชีวิตอย่างหลากหลาย
ได้ในสังคม
ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้ส่ือการอ่านและการแสวงหาความรู้เป็นไป
อย่างกว้างขวาง จึงต้องปรับปรุงเนื้อหาชุดวิชาการอ่านภาษาไทยเพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของ
สังคม ท้ังน้ี ชุดวิชาการอ่านภาษาไทย (ฉบับปรับปรุงคร้ังที่ ๒) แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกเป็นแนวคิด
และหลักการเกี่ยวกับการอ่าน ประกอบด้วย ความรู้เก่ียวกับการอ่าน ลักษณะงานเขียน ลักษณะภาษา
เขียน การอ่านจับใจความ การอ่านวิเคราะห์วิจารณ์ และการสังเคราะห์ความรู้จากการอ่าน ส่วนที่สอง
เป็นแนวทางและวิธีการอ่านงานประเภทต่างๆ ท่ีมีความสัมพันธ์กับผู้อ่านในวิถีชีวิต ประกอบด้วย การ
อา่ นรอ้ ยกรอง การอา่ นงานวชิ าการ การอา่ นหนงั สอื พมิ พแ์ ละนติ ยสาร การอา่ นบนั เทงิ คดี การอา่ นสารคดี
การอ่านเอกสาร การอ่านงานวิจารณ์ การอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการอ่านงานแปล สาระการอ่าน
ดังกล่าวท�ำให้ผู้อ่านเข้าใจองค์ความรู้ของการอ่าน เข้าถึงลักษณะเฉพาะของงานแต่ละประเภท และที่
ส�ำคัญท�ำให้ผู้อ่านตระหนักรู้และเท่าทันโลกท่ีเปล่ียนแปลงอยู่ทุกขณะจิตผ่านการอ่านท่ีหลากหลาย
คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาการอ่านภาษาไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักศึกษาและผู้สนใจ
จะได้รับประโยชน์จากการศึกษาสาระต่างๆ และฝึกปฏิบัติการอ่านอย่างสมำ่� เสมอ เพ่ือให้เกิดสัมฤทธิผล
ตามวัตถุประสงค์ของชุดวิชา ตลอดจนสามารถอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติของการอ่าน เพราะ
การอ่านมิใช่เพียงให้ความรู้แก่ผู้อ่านเท่าน้ันหากแต่ผู้อ่านยังได้เปิดมุมมอง ปรับโลกทัศน์ และเปลี่ยนวิถี
ชีวิตของตนได้ด้วยการอ่าน
คณะกรรมการกลมุ่ ปรบั ปรุงชุดวชิ า
การอา่ นภาษาไทย