Page 5 - ภาษาถิ่นและวรรณกรรมท้องถิ่นไทย
P. 5

(3)

                          ค�ำน�ำ

       ภาษาและวรรณกรรมเป็นส่ิงที่แสดงความเป็นอารยะของสังคม เพราะภาษาและวรรณกรรมเป็น
มรดกทางวัฒนธรรมท่ีเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของคนในสังคมที่คิดค้นภาษาข้ึนเพ่ือใช้ในการส่ือสาร แลก
เปล่ียนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนการด�ำเนินชีวิต จนน�ำภาษามาเรียงร้อยเป็นเร่ืองราวต่างๆ ท่ี
สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความคิดความเช่ือ และความนิยมในสุนทรียะ ผ่านงานวรรณกรรมหลากหลาย
ประเภท ทั้งวรรณกรรมมุขปาฐะและวรรณกรรมลายลักษณ์ สังคมไทยเป็นสังคมท่ีประกอบขึ้นด้วย
กลุ่มคนหลากหลายชาติพันธุ์ และตั้งชุมชนอยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วบริเวณดินแดนประเทศไทยใน
ปจั จบุ นั ภาษาและวรรณกรรมจงึ หลากหลายไปตามการตงั้ ถนิ่ ฐานของกลมุ่ คน และมอี ตั ลกั ษณอ์ นั นา่ สนใจ
ซึ่งแสดงออกถึงภูมิปัญญาของคนในท้องถ่ินไทยได้อย่างชัดเจน

       ชุดวิชาภาษาถ่ินและวรรณกรรมท้องถิ่นไทย เป็นชุดวิชาเฉพาะในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
แขนงวิชาไทยคดีศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ ที่มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ
ภาษาและวรรณกรรมท้องถ่ินในแต่ละภูมิภาคของไทย จนเห็นคุณค่า และเกิดการอนุรักษ์พัฒนาภาษา
ถิ่นและวรรณกรรมท้องถิ่นไทยให้มีความย่ังยืนอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป

       เนื้อหาของชุดวิชาภาษาถิ่นและวรรณกรรมท้องถิ่นไทยน้ี แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก
น�ำเสนอเน้ือหาเก่ียวกับภาษาถ่ินในสังคมไทย โดยกล่าวถึงความรู้ท่ัวไปเกี่ยวกับภาษาถิ่น และกล่าวถึง
ภาษาถ่ินในสังคมไทยในสี่ภูมิภาคหลัก คือ ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถ่ินอีสาน ภาษาไทยถ่ินกลาง
และภาษาไทยถน่ิ ใต้ นอกจากน้ี ยงั กลา่ วถงึ ภาษาของกลมุ่ ชาตพิ นั ธใ์ุ นสงั คมไทย ซง่ึ จดั ไดว้ า่ เปน็ ภาษาไทย
ถิน่ หนงึ่ ท่ปี รากฏอยู่ในสังคมไทย สว่ นที่สอง เป็นการน�ำเสนอเนอ้ื หาเกี่ยวกับวรรณกรรมทอ้ งถ่ินไทย โดย
กล่าวถึงความรู้ท่ัวไปของวรรณกรรมท้องถิ่น และกล่าวถึงวรรณกรรมท้องถ่ินในภูมิภาคต่างๆ เช่นเดียว
กบั การแบง่ กลมุ่ ภาษาถนิ่ ออกเปน็ วรรณกรรมทอ้ งถนิ่ ภาคเหนอื วรรณกรรมทอ้ งถน่ิ ภาคอสี าน วรรณกรรม
ท้องถิ่นภาคกลาง วรรณกรรมท้องถ่ินภาคใต้ รวมถึงวรรณกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมไทย และ
ส่วนที่สาม เป็นเน้ือหาในภาพรวมเกี่ยวกับภาษาถิ่นและวรรณกรรมท้องถิ่นไทย อันประกอบด้วยเนื้อหา
เก่ียวกับกรณีศึกษาภาษาถิ่นและวรรณกรรมท้องถิ่นไทย ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาถ่ินและวรรณกรรม
ทอ้ งถ่ินกบั สงั คมไทย ตลอดจนคณุ คา่ และแนวทางอนรุ ักษ์พัฒนาภาษาถ่นิ และวรรณกรรมท้องถ่นิ ไทย

       การศึกษาเอกสารการสอนชุดวิชาน้ีให้เกิดผลสัมฤทธ์ิท่ีดีน้ัน นอกจากศึกษาเอกสารการสอน
ให้เข้าใจอย่างกระจ่างชัดแล้ว ควรปฏิบัติตามกิจกรรมระหว่างเรียนท่ีปรากฏอยู่ในแผนการสอนประจ�ำ
หน่วยการสอนแต่ละหน่วยด้วย จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเน้ือหามากยิ่งข้ึน

       คณะกรรมการกลมุ่ ผลติ ชดุ วชิ าภาษาถนิ่ และวรรณกรรมทอ้ งถนิ่ ไทย หวงั เปน็ อยา่ งยงิ่ วา่ นกั ศกึ ษา
และผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาเอกสารการสอนชุดวิชาน้ี และน�ำความรู้ไปใช้ประโยชน์ใน
การส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนาให้ภาษาถ่ินและวรรณกรรมท้องถ่ินไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมคงอยู่
คู่สังคมไทยอย่างยั่งยืนสืบไป

                                คณะกรรมการกลมุ่ ผลติ ชุดวิชาภาษาถนิ่ และวรรณกรรมทอ้ งถ่นิ ไทย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10