Page 85 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 12
P. 85
สถิติพาราเมตริก 2: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ 12-75
นอกจากการวิเคราะหค์ วามสมั พันธ์ตามท่ไี ด้กลา่ วไวแ้ ลว้ ในตอนท่ี 12.1 และ 12.2 ยงั มีการวิเคราะห์
ความสัมพันธ์ของตัวแปรหลายตัว เช่น การวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) และการวิเคราะห์
เส้นทาง (path analysis) เป็นต้น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีแนวคิดโดยสรุป ดังนี้
1. การวิเคราะห์องค์ประกอบ เป็นวิธีการทางสถิติที่ใช้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อ
อธบิ ายการจดั กลมุ่ ของตวั แปรโดยอาศยั คณุ ลกั ษณะหรอื คณุ สมบตั ทิ รี่ ว่ มกนั ในรปู ของมติ ิ (dimension) หรอื
องค์ประกอบ (factor) การวิเคราะห์องค์ประกอบมี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ
(exploratory factor analysis) และ 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor
analysis)
1.1 การวเิ คราะหอ์ งคป์ ระกอบเชงิ สำ� รวจ มจี ดุ ประสงคเ์ พอื่ สรปุ ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งตวั แปร
ว่าตัวแปรแต่ละตัวมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบอย่างไร และกลุ่มของตัวแปรที่น�ำมาศึกษามีตัวประกอบ
ร่วมกันก่ีตัว ตัวอย่างเช่น ผู้วิจัยสร้างแบบทดสอบข้ึนมาฉบับหน่ึง ซึ่งวัดความสามารถในด้านต่างๆ 24 ด้าน
และบางด้านอาจวัดความสามารถที่ร่วมกัน จากการวิเคราะห์องค์ประกอบจะตรวจสอบได้ว่าแบบทดสอบ
ฉบับดังกล่าวประกอบด้วยกี่องค์ประกอบ
1.2 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน มีจุดประสงค์เพ่ือยืนยันหรือทดสอบสมมติฐาน
เกี่ยวกับโครงสร้างของข้อมูลหรือตัวแปรว่าเป็นไปตามสมมติฐานท่ีก�ำหนดไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น ทฤษฎี
เชาวน์ปัญญา กล่าวว่า องค์ประกอบของเชาวน์ปัญญามี 2 องค์ประกอบ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบจะ
ตรวจสอบหรือยืนยันว่าเป็นไปตามทฤษฎีหรือไม่
2. การวิเคราะห์เส้นทาง เป็นวิธีการศึกษาแบบแผนของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปร
ความสัมพันธ์ของตัวแปรดังกล่าวมีท้ังความสัมพันธ์ทางตรงและความสัมพันธ์ทางอ้อม การวิเคราะห์เส้นทาง
ไม่ใช่วิธีการหาสาเหตุ แต่เป็นวิธีการท่ีหาความสัมพันธ์จากแบบจ�ำลองท่ีนักวิจัยพัฒนาขึ้นจากพ้ืนฐานความรู้
และทฤษฎี โดยผู้วิจัยจะต้องสร้างแบบจ�ำลองที่มีลักษณะเป็นไดอะแกรมเส้นทาง (path diagram) ขึ้น แบบ
จ�ำลองนี้มีตัวแปรที่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งตัวแปรภายนอก (exogeneous variable) และตัวแปรภายใน (endo-
geneous variable)
การวิเคราะห์เส้นทางแตกต่างจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุ กล่าวคือ ถ้าเป็นการวิเคราะห์การ
ถดถอยพหุจะมีเฉพาะความสัมพันธ์ทางตรงระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามเท่าน้ัน เช่น ผู้วิจัยต้องการ
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกับความถนัดทางการเรียน ความสนใจในการเรียน และ
สภาพแวดล้อมทางบ้าน สามารถเขียนเป็นไดอะแกรมเส้นทางได้ ดังนี้