Page 78 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 78

4-68 หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา

                      ภาคผนวก

             ยทุ ธศาสตร์การขับเคลอื่ นสงั คมแห่งการเรียนรู้

                                                                          ประเวศ วะสี

       ต่อไปนี้คือยุทธศาสตร์ 7 ประการ เพื่อขับเคลื่อนสังคมแห่งการเรียนรู้

1. สรา้ งวัฒนธรรมแห่งการเรยี นรู้
       ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีหายนะทางธรรมชาติน้อย ทำ�ให้ไม่จำ�เป็น

ต้องกระตือรือร้นในการเรียนรู้ แต่บัดนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปมีความจำ�เป็นต้องมีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นเรื่องใหญ่และยาก แต่จำ�เป็น จึงช่วยกันคิดว่าจะสร้างวัฒนธรรมแห่งการ
เรียนรู้ได้อย่างไร ที่จะช่วยได้มากที่สุดก็คือ ทำ�ให้ทุกคนมีสำ�นึกว่าการเรียนรู้เป็นหน้าที่ และทุกคนต้องเป็น
กัลยาณมิตรต่อกันและกันโดยช่วยให้เพื่อนมนุษย์มีฉันทะในการเรียนรู้ บุคคลที่มีฉันทะในการเรียนรู้สูงมี
อยู่ ควรทำ�แผนที่ให้รู้ว่าท่านเหล่านี้อยู่ที่ไหน และการเรียนรู้ของท่านเกิดประโยชน์อย่างไร แล้วนำ�เรื่องของ
บุคคลเรียนรู้มาเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดความบันดาลใจให้มหาชนเกิดฉันทะในการเรียนรู้ การ
สื่อสารและภาคธุรกิจจะมีบทบาทได้มาก เพราะการสื่อสารและภาคธุรกิจคือผู้เชี่ยวชาญในการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมมากที่สุด

2. การเรยี นร้ขู องเดก็ ปฐมวยั
       แต่ละปีมีเด็กเกิดใหม่ปีละ 700,000 คน เด็กปฐมวัย 0-6 ขวบ ก็จะมีประมาณ 4,300,000 คน องค์

ความรู้มีอยู่แล้วว่าเลี้ยงดูเด็กเล็กอย่างไรเขาจะโตขึ้นเป็นคนฉลาด เป็นคนดี และเป็นคนมีความสุข ช่วงนี้
เป็นช่วงก่อเกิดโครงสร้างและโปรแกรมในสมอง ถ้าโครงสร้างดี โปรแกรมดี ก็จะมีผลเหนียวแน่นไปตลอด
ชีวิต เช่น ฉันทะในการเรียนรู้ ความมีศีลธรรม ประเทศต้องทุ่มเทกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึง และ
ด้วยคุณภาพดีที่สุด คนรุ่นใหม่ที่มีฉันทะในการเรียนรู้ มีศีลธรรม มีอารมณ์ความรู้สึกที่ดี ก็จะเข้ามาแทนที่
คนรุ่นเก่าอย่างต่อเนื่อง และในที่สุดเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม ครอบครัว ศูนย์เด็กเล็ก และชุมชนท้องถิ่น
คือผู้ที่มีบทบาทหลักในการพัฒนาเด็กปฐมวัย

3. สร้างโครงสร้างใหม่ของระบบการศึกษาทเ่ี อาชีวติ เป็นตวั ตง้ั
       เรื่องนี้ได้กล่าวโดยพิสดารแล้วในตอนที่ 4 ข้างต้น ยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนเรื่องนี้คือ การสร้าง

ความเข้าใจให้แจ่มแจ้งจนปฏิบัติได้ อาจทดลองปฏิบัติในพื้นที่ที่มีความพร้อม หรือปฏิบัติเป็นส่วนๆ เท่าที่
จะทำ�ได้ไปก่อน เมื่อปรากฏผลดีก็จะขยายเพิ่มขึ้นจนเต็มพื้นที่
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83