Page 16 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 16
11-6 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู
เรอ่ื งที่ 11.1.1 แนวคดิ เกย่ี วกบั นวตั กรรมการศกึ ษา*
ในการจัดการศึกษาย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นหลายประการ นักการศึกษาจึงต้องพยายามหาทางแก้ไข
ปัญหาดังกล่าว โดยพยายามเสนอรูปแบบและแนวคิดใหม่ ๆ ในลักษณะท่ีเรียกว่า นวัตกรรม ในท่ีนี้
หมายถึง นวัตกรรมทางการศึกษา เนื่องจากเป็นนวัตกรรมท่ีนักการศึกษาคิดข้ึนเพ่ือแก้ปัญหาทางการศึกษา
แนวคดิ เกย่ี วกบั นวตั กรรมทจี่ ะกลา่ วถงึ ในทนี่ ้ี ไดแ้ ก่ ความหมายของนวตั กรรมทางการศกึ ษา เกณฑ์
ในการพิจารณานวัตกรรมทางการศึกษา และตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
มีผู้ให้ความหมายของค�ำว่า นวัตกรรมและนวัตกรรมทางการศึกษา ไว้ดังน้ี
ราชบัณฑติ ยสถาน (2546: 565-566) อธิบายว่า หมายถึง สิ่งท่ีท�ำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจ
จะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ เป็นต้น ในขณะที่ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2536: 32) กล่าวถึงความหมาย
ของนวัตกรรมหรือนวกรรมไว้ว่า เป็นวิธีการใหม่ท่ีรอการยอมรับ เม่ือทรงสภาพอยู่ได้ ก็กลายเป็นเทคโนโลยี
ต่อไป ส่วนส�ำลี ทองธวิ (2536: 107) กล่าวถึงความหมายของนวตั กรรมทางการศึกษา โดยสรปุ ใหค้ วามหมาย
ว่า เป็นแนวความคิดและวิธีการ หรือการปฏิบัติ และกรรมวิธีใหม่ ๆ ทางการศึกษา ที่ก�ำลังทดลองใช้หรือผ่าน
การทดลองใช้แล้ว แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในสังคมนั้น สร้างขึ้นโดยมีเป้าหมายในการใช้ชัดเจน และเพื่อ
ปรบั ปรงุ แกไ้ ขการปฏบิ ตั เิ ดมิ เพอื่ ใหเ้ กดิ ประสทิ ธภิ าพมากขนึ้ นอกจากนย้ี งั มผี ใู้ หค้ วามหมายคำ� นไ้ี วอ้ กี จำ� นวน
มาก ทั้งที่เป็นชาวต่างประเทศและคนไทย แต่ก็ไม่ได้มีความหมายแตกต่างไปจาก 2 ประเด็นหลัก ๆ คือ เป็น
ส่ิงใหม่ทางการศึกษาและน�ำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอนหรือการศึกษา
สรุปได้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การน�ำส่ิงใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของวัสดุ อุปกรณ์
หรือวิธีการท่ียังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมท่ีมีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพ่ือมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงให้ระบบ
การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เกิด
แรงจูงใจในการเรียน และช่วยประหยัดเวลาในการเรียนและเมื่อน�ำนวัตกรรมนั้นมาใช้จนแพร่หลายเป็นที่
ยอมรับอย่างกว้างขวางแล้ว นวัตกรรมน้ันก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีไปในที่สุด
เม่ือน�ำนวัตกรรมมาใช้จนแพร่หลายเป็นท่ียอมรับอย่างกว้างขวางแล้ว นวัตกรรมนั้นก็จะกลายเป็น
เทคโนโลยไี ปในทีส่ ุด และเทคโนโลยนี ั้นเมอื่ ใช้ไปนาน ๆ มีผ้นู ำ� ไปดดั แปลงหรือปรบั ปรุงก็จะได้เปน็ นวตั กรรม
ข้ึนมาอีก
* ปรับปรุงจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิศ ภู่ศิริ.