Page 408 - โครงการผลิตหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
P. 408

14-2	   หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการเรียนรู้สู่ประชาคม2อาเซียน

14.1 สถานภาพภาคอตุ สาหกรรมและบริการของไทย

      นับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจโลกมีการเปล่ียนแปลงไปอย่างมาก อาทิ
วิกฤตสินเชื่อ Sub-Prime ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐอย่างรุนแรง ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย
ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ปัญหาราคาน้ามันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาด้านส่ิงแวดล้อม
การเปิดเสรีภายใต้กรอบของ WTO และการเปิดเสรีภายใต้กรอบ FTA และ AEC ท่ีส่งผลให้การ
แข่งขันรุนแรงขึ้น ท้ังการแข่งขันในตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศ รวมถึงปัญหา
การเมืองและอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่ส่งผลต่อความเชื่อม่ันของนักลงทุนและผู้บริโภค เป็นต้น จาก
ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจโลก และปัจจัยต่างๆ ในประเทศเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การพัฒนา
อุตสาหกรรมไทยที่ผ่านมายังให้นา้ หนักไปที่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ทาให้มีการส่งเสรมิ
สาขาอุตสาหกรรมท่ีมีขนาดใหญ่และเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก ซ่ึงมีความอ่อนไหวต่อการ
เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความต้องการของตลาดโลกมากกว่าที่จะให้ความสาคัญกับการพัฒนา
อุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพและทรัพยากรท่ีมีอยู่ในประเทศ เมื่อเผชิญกับภาวะวิกฤต
เศรษฐกจิ จึงทาให้ภาคอตุ สาหกรรมไทยไดร้ ับผลกระทบโดยตรง ดงั น้นั เพอ่ื เป็นการเพิ่มความสามารถ
ในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมของไทยเพื่อต่อสู้ในระบบเศรษฐกิจ อาเซียนหรือ AEC
ภาคอุตสาหกรรมไทยจึงจาเป็นต้องมุ่งแสวงหาแนวทางพัฒนาใหม่ๆ โดยปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจ
ยุคเก่าที่ใช้ทรัพย์สินท่ีจับต้องได้ (Tangible Assets) หรือปัจจัยการผลิต (Factor driven growth)
ดั้งเดิม ได้แก่ ท่ีดิน แรงงาน และทุน เป็นตัวขับเคล่ือนหลักไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ท่ีใช้ทรัพย์สินท่ีจับ
ต้องไม่ได้ (Intangible Assets) หรือทรัพย์สินทางปัญญา และการสร้างสรรค์มูลค่าเป็นปัจจัย
ขับเคล่ือนใหม่ โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ (Creativity driven growth) มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มคุณค่า/
สร้างมูลค่าให้กับสินค้ากลุ่มที่ไทยมีความสามารถการแข่งขันอยู่แล้ว รวมถึง การมุ่งเน้นส่งเสริมขีด
ความสามารถในการแข่งขันอยู่แล้ว รวมถึงการมุ่งเน้นส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ
กลุ่มสินค้าไทยที่มีศักยภาพ/ความสามรรถหลัก (Core Competency) เป็นการเฉพาะเจาะจงมาก
ยง่ิ ขน้ึ และเพื่อใหก้ ารพฒั นาเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคอตุ สาหกรรมของไทย เพอื่ ต่อสู้
ในระบบเศรษฐกิจโลก และเพ่ือรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจเซียนหรือ AEC เป็นไปอย่างมี
ระบบและประสิทธิภาพสูงสุด จาเป็นอย่างย่ิงท่ีจะต้องเข้าถึงสถานภาพของอุตสาหกรรมไทยใน
ปัจจบุ นั

      ในส่วนของภาคบริการในปัจจุบัน หากมองทางด้านอุปทานของภาคบริการของไทยได้เพ่ิม
บทบาทต่อเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเน่ืองโดยในปี พ.ศ.2557 มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 52 ของ GDP และมี
   403   404   405   406   407   408   409   410   411   412   413