Page 19 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 19
ประติมากรรม 12-9
เร่ืองที่ 12.1.2
ประตมิ ากรรมรูปมนุษย์
ประติมากรรมในกลุ่มน้ี คือ ประติมากรรมท่ีสลักเป็นรูปบุคคล มีท้ังท่ีเป็นประติมากรรมลอยตัว
และประติมากรรมนูนต่า ที่ปรากฏอยู่ตามหน้าบัน ทับหลัง ประดับอยู่ตามศาสนสถานต่างๆ เป็นภาพ
สลักเล่าเร่ืองในศาสนาพราหมณแ์ ละศาสนาพทุ ธ
1. ประตมิ ากรรมในศาสนาพราหมณ์
ประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์ มีท้ังที่เป็นประติมากรรมนูนต่า ประดับอยู่ตามศาสนสถาน
หรือตามทับหลัง ที่เรียกว่า ภาพสลักเล่าเรื่อง และประติมากรรมลอยตัวท่ีสามารถมองเห็นได้รอบด้าน
ซง่ึ เรียกวา่ ประติมากรรมรูปเคารพ
ประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์ แบ่งเป็น 2 นิกาย ได้แก่ ลัทธิไศวนิกาย คือ นับถือพระศิวะ
เป็นเทพเจ้าสูงสุด กับลัทธิไวษณพนิกาย คือ นับถือพระวิษณุเป็นเทพเจ้าสูงสุด ประติมากรรมเทพเจ้า
ดังกล่าวสามารถแบง่ แต่ละสมัย ได้ดงั น้ี
1.1 ศิลปะแบบพนมดา ประตมิ ากรรมรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ปรากฏครั้งแรกในศลิ ปะแบบ
พนมดา เป็นประติมากรรมในยคุ แรกๆ ทย่ี ังคงอทิ ธพิ ลของอนิ เดียอย่างมาก แต่ก็ยังแสดงถึงการประยกุ ต์
เพ่ือให้เป็นเอกลักษณข์ องตนเองทแ่ี ท้จริง โดยแสดงให้เห็นถึงการวิวฒั นาการมาจากภาพแกะสลักนูนสูง
หรอื ภาพท่ียืนอิงกับแผน่ ดา้ นหลงั ทเ่ี ปน็ ลักษณะของอทิ ธพิ ลอนิ เดีย