Page 21 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 21

ประติมากรรม 12-11

                  ภาพท่ี 12.6 ประตมิ ากรรมพระนารายณ์ (?) ศิลปะเขมรแบบพนมดา

ท่ีมา: ทรงธรรม ปานสกุณ.

       ประติมากรรมสมัยพนมดา สามารถแบ่งไดอ้ อกไปเป็น 2 กลุม่ ดงั นี้
       กลุ่มแรก สลักข้ึนในสมัยพระเจ้ารุทรวรมัน ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรฟูนัน เป็น
ประติมากรรมท่ีมบี ่า และเอวเลก็ ขาค่อนข้างส้ัน ใบหน้าค่อนขา้ งแบน นัยน์ตาแหลมยาว จมกู โค้ง น่งุ ผ้า
โจงกระเบนสั้น มีชายคลุมด้านนอกอีกช้ันหนึ่ง ริ้วผ้าบนชายด้านนอกแยกเป็นริ้วออกจากหัวเข็มขัด
ชายกระเบนเหน็บอยู่ด้านหลังมีชายห้อยลงคล้ายรูปสมอเรือ เข็มขัดขนาดเล็ก มีหัวเข็มขัดเป็นวงรูปไข่
คาดอยู่ใต้ชายผ้าชั้นนอก มเี ครอื่ งยึดกับฐานประกอบ
       กลุ่มที่สอง ประติมากรรมนุ่งผ้าเรียบคล้ายกับผ้าโสร่ง หรือ “โธตี” ของอินเดีย มีผ้าคาดอีก
ชั้นหน่ึงผูกเป็นเข็มขัดและมีปมใหญ่ยื่นออกมาทางด้านขวาของตะโพก ผ้านุ่งแบบนี้มีชายยาวห้อยอยู่
ขา้ งหน้า
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26