Page 68 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 68

12-58 พ้นื ฐานสังคมและวัฒนธรรมเขมร
จนสามารถบรรลุโพธิญาณได้ มีการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้าศรีศากยมุนีเป็นปางต่างๆ เก่ียวกับ
พุทธประวัติตอนสาคัญๆ แต่พุทธศาสนาลัทธิมหายานถือว่า พระพุทธเจ้ามิใช่มนุษย์ธรรมดา มีจานวน
มากมายหลายองค์ และอยู่ในภาวะท่ีเหนอื มนุษย์ การสรา้ งพระพุทธรูปทท่ี รงเคร่ืองแบบกษัตริยจ์ ึงเป็นที่
นยิ มอย่างมาก

       พระพุทธรูปท่ีปรากฏอยู่บนทับหลัง จึงนิยมสลักเป็นพระพุทธรูปทรงเคร่ือง มีลักษณะเช่น
เดยี วกบั เครอื่ งแต่งกายทป่ี รากฏบนประติมากรรมเทวรูปในศาสนาพราหมณ์

       ในสมัยบายน องค์ประกอบของภาพมักแตกต่างกันไป คือ มักจะสลักรูปเคารพที่เรียกว่า พระ-
รัตนตรัยมหายาน (สมิทธิ ศิริภัทร์ และมยุรี วีระประเสริฐ, 2533: 168) คือ สลักพระพุทธรูปนาคปรกอยู่
ตรงกลางระหว่างพระโพธสิ ตั วอ์ วโลกเิ ตศวร และนางปรชั ญาปารมิ

               ภาพที่ 12.56 พระพทุ ธรูปบนทบั หลงั พพิ ธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติ กรุงพนมเปญ

ท่มี า: ทรงธรรม ปานสกุณ.

       พระโพธิสัตว์ หรือพระอนาคตพระพุทธเจ้า เป็นผู้ท่ีสร้างบารมีโดยมีการบาเพ็ญประโยชน์
ช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ การนับถือพระโพธิสัตว์ เกิดขึ้นในพุทธศาสนาทั้งสองนิกาย แต่ในลัทธิ
หินยานหรือเถรวาทนอกจากจะมีความเชื่อและการยอมรับในพระโพธิสัตว์เพียงองค์เดียว คือ พระศรี-
อริยเมตไตรย์ ซ่ึงจะจุติลงมาเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป (สมิทธิ ศิริภัทร์ และมยุรี วีระประเสริฐ, 2533:
169)

       พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระองค์ได้รับการนับถือสูงสุดในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน เป็นผู้ที่
คุ้มครองกัลป์ปัจจุบัน คอยดูแล คุ้มครองโลกทั้งมวลด้วยปัญญาและบารมีในขณะที่โลกรอคอยการจุติลง
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73