Page 12 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 12

4-2 พน้ื ฐานสงั คมและวฒั นธรรมเขมร

                  แผนการสอนประจาหน่วย

ชุดวชิ า พ้ืนฐานสังคมและวฒั นธรรมเขมร

หน่วยท่ี 4 สภาพสังคม

ตอนที่

       4.1 คนในสังคม
       4.2 สงั คมเมือง-สงั คมชนบท
       4.3 การศกึ ษาและระเบียบสังคม

แนวคดิ

       1. สถาบันย่อยของคนในสังคมคือครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยผู้ชายเป็นผู้นาครอบครัวทาหน้าที่
          หาเลี้ยง ส่วนผู้หญิงทาหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยภายในครอบครัว แม้ว่าสังคมเขมรจะ
          ประกอบด้วยชาวเขมรเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีคนกลุ่มอื่นๆ ด้วย ทั้งชาวเวียดนาม ชาวจีน
          ชาวจาม เป็นต้น กลุ่มคนเหลา่ นีส้ ะทอ้ นความหลากหลายของสงั คม

       2. สังคมเมืองอยู่ในช่วงการพัฒนาในหลายด้าน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานของสังคม แม้ว่า
          กรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่ในจังหวัดอื่น อาทิ เสียมเรียบ พระสีหนุ ก็มี
          การพัฒนาของสงั คมเมืองข้ึนด้วย ส่วนสังคมชนบทยังคงรักษาวถิ ีชวี ิตดง้ั เดิมไวอ้ ยู่

       3. ระบบการศึกษาปจั จบุ ันอยู่ในความดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และกีฬา จัดการ
          ศึกษาโดยยึดรูปแบบ 6-3-3 คือ ระดับประถมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี
          และระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย 3 ปี ส่วนระดบั อดุ มศึกษาใชเ้ วลา 4-7 ปี ข้นึ อยู่กับหลกั สูตร
          ทศ่ี กึ ษา

       4. ระเบียบสังคมแบ่งเป็นท่บี ันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อกั ษร โดยมีรัฐธรรมนูญเปน็ กฎหมายสูงสุด
          ของสังคม และระเบียบสังคมท่ีไม่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งเป็นวิถีปฏิบัติและ
          จารีตของชาวเขมร
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17