Page 20 - การวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
P. 20
9-10 การวิจัยเทคโนโลยีและส่ือสารการศึกษา
เรอื่ งที่ 9.1.2 การเลือกปญั หาการวจิ ยั
ตามที่ทราบกันดีว่าปัญหาในวงการศึกษาหรือปัญหาด้านการเรียนการสอน เป็นปัญหาท่ีเกิดอยู่
รอบตัวทุก ๆ วัน การท�ำวิจัยเป็นหนทางหนึ่งท่ีจะช่วยแก้ไขปัญหาหรือเสนอแนะวิธีเพ่ือให้การศึกษามี
ประสิทธิภาพ การเลือกประเด็นปัญหาการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ซึ่งมีต้ัง 84 ขอบข่ายนั้นดูจะ
มากมาย แต่การจะพิจารณาเลือกประเด็นไหนมาท�ำการวิจัยนั้นอาจต้องพิจารณาถึงความส�ำคัญของปัญหา
แต่ละอย่างท่ีเกิดข้ึน โดยพิจารณาจาก (1) แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย และ (2) หลักเกณฑ์ใน
การเลือกประเด็นปัญหาการวิจัย
1. แหลง่ ทมี่ าของปญั หาการวจิ ยั
แหล่งที่มาของปญั หาการวจิ ยั ทีผ่ ู้วจิ ัยพบหรือได้รบั ขอ้ แนะนำ� จะมาจากหลายแหลง่ ได้แก่ (1) ปัญหา
ใกล้ตัว (2) ปัญหาของคนอื่น (3) ปัญหาของสถาบันหรือองค์กร (4) ปัญหาของชุมชน (5) ปัญหาระดับชาติ
(6) ปัญหาจากข้อเสนอแนะในรายงานการวิจัย และ (7) ปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ
1.1 ปัญหาใกลต้ วั เป็นปัญหาท่ีผู้วิจัยได้พบด้วยตนเอง เกิดข้ึนใกล้ตนเอง อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับ
สื่อการเรียนการสอน ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการสอน ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ปัญหาท่ีเกี่ยวกับ
พฤติกรรมของนักเรียน หรือปัญหาเก่ียวกับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียน เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เป็น
ปัญหาท่ีเกิดข้ึนจากการไม่ประสบผลส�ำเร็จในการเรียนการสอนตามที่คาดหวัง ท�ำให้เกิดข้อสงสัยต่าง ๆ ท่ี
ผู้วิจัยอาจต้องการแก้ไขโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการวิจัยเป็นเคร่ืองมือให้ได้ท�ำการพิสูจน์ส�ำรวจ
หรือทดลอง รวบรวมข้อมูล เพ่ือวิเคราะห์หาผลสรุปต่อไป
1.2 ปญั หาของคนอน่ื เปน็ ปญั หาดา้ นเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษาทผ่ี อู้ นื่ นำ� มาปรกึ ษาหารอื เพอื่
ให้ช่วยหาทางแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ โดยปัญหาน้ันไม่ได้เกิดกับผู้วิจัยเอง แต่อาจอยู่ในความสนใจ
ของผู้วิจัย หรืออาจมองเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ดังนั้น ปัญหาของคนอื่นน้ีก็จึงเป็นแหล่งท่ีดี
แหลง่ หนงึ่ ท่ผี ูว้ ิจยั จะน�ำไปกำ� หนดประเดน็ ปญั หา และรวบรวมข้อมลู ทีเ่ ก่ยี วขอ้ งไดไ้ ม่ยาก เพราะผทู้ ่ีน�ำปญั หา
มาให้ยินดีที่จะร่วมมือในการป้อนข้อมูลให้อยู่แล้ว
1.3 ปัญหาของสถาบันหรือองค์กร มีงานวิจัยหลายเรื่องท่ีเกิดจากปัญหาของสถาบันหรือองค์กร
หรือสมาคม หรือมูลนิธิต่าง ๆ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมหรือบริบทท่ีเป็นข้อสงสัยว่าเหมาะสม
กับการบริหาร วิชาการ และการบริการท่ีก�ำหนดไว้หรือไม่ เช่น หลักสูตรท้องถ่ินที่จัดท�ำขึ้นมีความเหมาะสม
กับกิจกรรมการเรียนการสอนและส่ือการสอนที่ออกแบบหรือไม่ ท�ำไมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจึงไม่อยู่ใน
ระดับท่ีคาดหวัง จ�ำเป็นต้องปรับปรุงขั้นตอนใด ควรมีเทคโนโลยีการศึกษาด้านใดมาช่วยสนับสนุนการเรียน
การสอน ดังน้ัน สถาบันหรือองค์กรอาจมีความต้องการให้มีผู้วิจัยประเด็นปัญหาเหล่านี้ขึ้น