Page 25 - การวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
P. 25

ปัญหาการวิจัยและการเขียนโครงการวิจัยเทคโนโลยีและส่ือสารการศึกษา 9-15

2. 	การกำ� หนดหัวขอ้ วจิ ัย

       จากการท่ีผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาการเลือกประเด็น
ปัญหาการวิจัย โดยมีการทบทวนวรรณกรรม เพ่ือการตัดสินใจเลือกปัญหาได้แล้ว ข้ันตอนนี้จะเป็นขั้นตอน
ของการก�ำหนดหัวข้อวิจัย โดยผู้วิจัยต้องตั้งช่ือที่สามารถสื่อความหมายในหัวข้อวิจัยให้ผู้อ่านงานวิจัย
ได้ทราบว่าจะท�ำวิจัยเรื่องอะไร กับใคร ในบริบทใด

       คณะกรรมการกลุ่มผลิตและบริหารชุดวิชาวิทยานิพนธ์แขนงวิชาเทคโนโลยีและส่ือสารการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2538) ได้ให้แนวทางการก�ำหนดหัวข้องานวิจัยหรือหัวข้อวิทยานิพนธ์ไว้
โดยมีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ (SOSE) ดังนี้ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2538, น. 11)

       1)	 เรื่องท่ีจะวิจัย (Subject) เป็นตัวกระท�ำ เช่น แบบจ�ำลอง ระบบการสอน ชุดการสอน และ
เนื้อหาสาระ เช่น ภาษาไทย สังคมศึกษา บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น

       2)	 ส่ิงหรือผู้ที่ถูกวิจัย หรือกลุ่มตัวอย่าง (Object) หรือตัวถูกกระท�ำ หรือผู้ที่ถูกวิจัย หรือ
กลุ่มตัวอย่าง เช่น นักเรียน เครื่องมือท่ีเป็นต้นแบบช้ินงานการวิจัย เป็นต้น

       3)	 สถานการณ์ บริบท หรือสภาพแวดล้อมที่จะวิจัย (Setting) เช่น ห้องเรียน โรงเรียน เขตพ้ืนที่
การศึกษา เป็นต้น

       4)	 ผลที่เกิดจากการวิจัย (Effects) เป็นผลท่ีคาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น ประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธ์ิ และ
ความคิดเห็น เป็นต้น

       ดังนั้น องค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ หรือตัวย่อภาษาอังกฤษที่จ�ำได้ง่ายว่า “SOSE” (โซเซ
หรือ โซเซ่) เป็นค�ำหลักท่ีผู้วิจัยต้องก�ำหนดตามประเด็นปัญหา เพ่ือต้ังช่ือหัวข้อวิจัย ให้ได้ครบท้ัง 4
องค์ประกอบ จึงจะสื่อความหมายถึงงานวิจัยได้อย่างสมบูรณ์และกระจ่างชัด

       ตวั อยา่ ง ชื่อหัวข้อวิจัย เช่น “การพัฒนาชุดการสอนแบบกลุ่มกิจกรรม เรื่อง ระบบการย่อยอาหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ส�ำหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 5 เขตพื้นท่ีการประถมศึกษาชลบุรี”

       “SOSE” ในหัวข้อวิจัยน้ีคืออะไร ได้แก่อะไรบ้าง
       S (Subject) เร่ืองท่จี ะวจิ ัย คือ ชดุ การสอนแบบกลมุ่ กจิ กรรม เร่อื ง ระบบการยอ่ ยอาหาร กลมุ่ สาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
       O (Object) สิ่งหรือผู้ที่ถูกวิจัย คือ นักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 5
       S (Setting) บริบท หรือสภาพแวดล้อมท่ีจะวิจัย คือ เขตพื้นท่ีการศึกษา ประถมศึกษา
       E (Effects) ผลท่ีเกิดจากการวิจัย คือ ประสิทธิภาพของชุดการสอน
       จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าตัว E (Effects) ไม่ได้ปรากฏอยู่ในหัวข้อวิจัย แต่ผู้วิจัยและผู้อ่านงาน
วิจัยต้องเข้าใจว่าการสร้างหรือพัฒนาชุดการสอนน้ันผลการวิจัยที่ได้ต้องเป็นประสิทธิภาพของชุดการสอน
เพราะบางครั้งการต้ังหัวข้อวิจัยอาจละเว้นค�ำหลักบางค�ำที่คิดว่าเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปแล้ว เช่น บริบท
ท่ีเป็นโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30