Page 32 - ประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจไทย
P. 32

15-22 ประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกจิ ไทย

นโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

       โครงการพฒั นาระเบยี งเศรษฐกจิ พเิ ศษภาคตะวนั ออก (EEC) เปน็ แผนยทุ ธศาสตรภ์ ายใตน้ โยบาย
Thailand 4.0 ภมู ภิ าคเอเชีย เปน็ ผ้นู �ำในการขบั เคล่ือนโลก ทั้งดา้ นการลงทนุ และการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจ โดยมีประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมทั้งอาเซียน เป็นหัวใจหลักของการขับเคล่ือน
ดว้ ยประชากรรวมกว่า 3.5 พนั ล้านคน และ GDP คิดเปน็ ร้อยละ 32 ของ GDP โลก ประเทศไทย เป็น
จุดศูนยก์ ลางในการเชอ่ื มต่อกับกล่มุ เศรษฐกิจในทวปี เอเชยี จากเหนอื สใู่ ต้ ตงั้ แตจ่ ีนลงสอู่ ินโดนเี ซีย จาก
ตะวันออกมายังตะวันตกตั้งแต่เวียดนามข้ามไปจนถึงเมียนมา และเป็นจุดยุทธศาสตร์ของกลุ่มประชาคม
เศรษฐกจิ อาเซยี น หรอื AEC ในดา้ นการผลติ การคา้ การสง่ ออกและการขนสง่ ทงั้ ยงั อยกู่ งึ่ กลางระหวา่ ง
ประเทศกัมพชู า ลาว เมยี นมา และเวยี ดนาม ทีก่ ำ� ลงั เติบโตอยา่ งรวดเร็ว ประเทศไทยจึงเปน็ ตำ� แหนง่ ทด่ี ี
ทสี่ ุดของการลงทนุ ในอาเซียน เพอื่ เช่อื มเอเชียและเช่ือมโลก

       โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้
ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพ้ืนที่ท่ีต่อยอดความส�ำเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก
หรือ Eastern Seaboard ซ่ึงด�ำเนินมาตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา โดยในครั้งน้ีส�ำนักงานเพื่อการพัฒนา
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) มีเป้าหมายหลักในการเติมเต็มภาพรวมในการส่งเสริม
การลงทุนซึ่งจะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศเพ่ิมความสามารถในการแข่งขันและท�ำให้
เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว โดยในระยะแรกจะเป็นการยกระดับพ้ืนที่ในเขต 3 จังหวัด คือ
ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นท่ีเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อรองรับการขับเคลื่อน
เศรษฐกจิ อยา่ งเปน็ ระบบและมปี ระสทิ ธภิ าพผา่ นกลไกการบรหิ ารจดั การภายใตก้ ารกำ� กบั ดแู ลของคณะกรรมการ
นโยบายพน้ื ที่เขตเศรษฐกจิ พเิ ศษภาคตะวันออกโดยมีนายกรฐั มนตรเี ป็นประธาน

       คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการจัดต้ังเขตพัฒนา
เศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนและการอ�ำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการ
อันเป็นปัจจยั ส�ำคญั ต่อการพฒั นาขดี ความสามารถในการแขง่ ขันของประเทศ และเพ่อื กระจายการพัฒนา
ไปยงั พน้ื ทต่ี า่ งๆ โดยเหมาะสมกบั ศกั ยภาพของพน้ื ทอ่ี นั เปน็ การพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ของประชาชน ใหท้ วั่ ถงึ
ซ่งึ นโยบายดังกลา่ วสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาระเบยี งเศรษฐกจิ พิเศษ ภาคตะวนั ออก
(Eastern Economic Corridor) ทคี่ รอบคลมุ พน้ื ทส่ี ามจงั หวดั ในภาคตะวนั ออก ไดแ้ ก่ จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
ชลบุรี และระยอง และเขตจังหวัดอ่ืนท่ีติดต่อหรือเก่ียวข้อง ซ่ึงมีศักยภาพในการพัฒนาด้วยความพร้อม
ดา้ นการคมนาคม การขนสง่ โครงสรา้ งพน้ื ฐาน ความตอ้ งการของผปู้ ระกอบการ การจดั หาทรพั ยากรตา่ งๆ
และความเชอื่ มโยงกบั ศนู ยก์ ลางเศรษฐกจิ อนื่ ๆ แตโ่ ดยทก่ี ารดำ� เนนิ การดงั กลา่ วอยรู่ ะหวา่ งการจดั ทำ� กฎหมาย
ท่ีเกี่ยวข้อง จึงมีความจ�ำเป็นต้องก�ำหนดมาตรการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกขึ้นเพื่อ
ดำ� เนนิ การไปพลางกอ่ นการบงั คบั ใชก้ ฎหมายวา่ ดว้ ยการน้ี เพอ่ื ใหก้ ารดำ� เนนิ การดงั กลา่ วเกดิ ผลอยา่ งเปน็
รปู ธรรมโดยเรว็ อนั จะเปน็ ประโยชนต์ อ่ การปฏริ ปู ระบบเศรษฐกจิ การยกระดบั คณุ ภาพชวี ติ และความเปน็ อยู่
ของประชาชนในพนื้ ที่ ตลอดจนการพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมและการเพม่ิ ขดี ความสามารถในการแขง่ ขนั
ของประเทศโดยรวม อาศยั อ�ำนาจตามความในมาตรา 44 ของรฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย (ฉบบั
ชวั่ คราว) พทุ ธศกั ราช 2557 หวั หนา้ คณะรกั ษาความสงบแหง่ ชาตโิ ดยความเหน็ ชอบของคณะรกั ษาความสงบ
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37