Page 31 - ประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจไทย
P. 31

การเมืองและเศรษฐกิจในสมยั รฐั บาลพลเอกประยุทธ์ จนั ทรโ์ อชา 15-21

       ยุคสอง เรียกว่า Thailand 2.0 เน้นอุตสาหกรรมแต่เป็นอุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตและ
ขายรองเทา้ เครือ่ งหนงั เครอื่ งดื่ม เครื่องประดบั เครื่องเขยี น กระเป๋า เครื่องนงุ่ หม่ เป็นต้น

       พ.ศ. 2559 จัดอย่ใู นยคุ ท่ีสาม เรยี กว่า Thailand 3.0 เปน็ อุตสาหกรรมหนักและการสง่ ออก เชน่
การผลิตและขาย ส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ กลั่นน�้ำมัน แยกก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น แต่
ประเทศไทยในยคุ ท่ี 1.0, 2.0 และ 3.0 รายได้ประเทศยังอยู่ในระดบั ปานกลาง จึงตอ้ งรบี พฒั นาเศรษฐกจิ
สร้างประเทศ เป็นเหตุให้น�ำไปสู่ยุคท่ีสี่ ใหร้ หัสใหมว่ ่า “ประเทศไทย 4.0” ใหเ้ ป็นเศรษฐกิจใหม่ (New
Engines of Growth) มีรายได้สูง โดยวางเป้าหมายให้เกิดภายใน 5-6 ปีน้ี คล้ายๆ กับการวางภาพ
อนาคตทางเศรษฐกจิ ท่ชี ัดเจนของประเทศทีพ่ ฒั นา เชน่ สหรัฐอเมริกา “A Nation of Makers” อังกฤษ
“Design of Innovation” อนิ เดยี “Made in India” หรือ ประเทศเกาหลใี ต้ทว่ี างโมเดลเศรษฐกิจใน
ชื่อ “Creative Economy” เป็นต้น20

       ปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ในยุค 3.0 ซ่ึงการพัฒนาประเทศเน้นไปทางอุตสาหกรรมหนักและ
การส่งออกเป็นหลัก รายได้ของประเทศไทยยงั คงอยู่ในระดบั กลางท�ำใหป้ ระเทศไทยอย่ใู นภาวะติดกับดัก
รายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) มาเป็นระยะเวลานาน แม้จะมีพัฒนาการมาจากในอดีตจาก
ยคุ ประเทศไทย 1.0 ซ่ึงเนน้ การเกษตรเป็นหลักและยคุ ประเทศไทย 2.0 ท่ีเน้นการพฒั นาประเทศไปทาง
อตุ สาหกรรมทเ่ี ปน็ อตุ สาหกรรมเบาเปน็ สว่ นมาก ดงั นน้ั ประเทศไทย 4.0 จงึ มคี วามมงุ่ มนั่ ทจ่ี ะปรบั เปลย่ี น
เป็น “เศรษฐกจิ ทขี่ ับเคลื่อนดว้ ยนวตั กรรม” (Value-Based Economy) โดยมฐี านคดิ หลกั คอื เปล่ียน
จากการผลิตสนิ คา้ “โภคภณั ฑ”์ ไปสสู่ ินค้าเชิง “นวตั กรรม” เปล่ยี นจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาค
อุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลอื่ นด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการ
เน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น จึงควรมีการเปล่ียนวิธีการท�ำที่มีลักษณะส�ำคัญ
คือ เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและ
เทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรตอ้ งรำ่� รวยขน้ึ มลี กั ษณะเปน็ ผปู้ ระกอบการ (Entrepreneur)
เปล่ียนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ท่ีเป็นอยู่เดิมและรัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา
ไปสู่การเปน็ Smart Enterprises และ Startup บริษทั เกิดใหม่ทมี่ ศี ักยภาพสูง เปลยี่ นจาก Traditional
Services ซ่งึ มีการสรา้ งมูลคา่ คอ่ นข้างต่�ำไปสู่ High Value Services และเปลีย่ นจากแรงงานทักษะตำ�่
ไปสู่แรงงานทม่ี ีความรู้ ความเช่ียวชาญ และทักษะสูง21

       โดยสรุปแล้วส่ิงส�ำคัญท่ีสุดท่ีจะท�ำให้นโยบาย Thailand 4.0 ประสบความส�ำเร็จได้ ต้องอาศัย
ความรว่ มมอื และความมงุ่ มน่ั ของคนไทยทงั้ ภาครฐั ภาคเอกชน และใหค้ วามสำ� คญั กบั ปจั จยั ดา้ นการพฒั นา
มนษุ ย์ หากประเทศไทยสามารถขบั เคลอื่ นนโยบายดงั กลา่ วไปไดจ้ รงิ จะทำ� ใหภ้ าพรวมเศรษฐกจิ ไทยหลดุ พน้
จากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และสามารถลดการพึ่งพาต่างชาติ เพื่อลดความเหลื่อมล�้ำต่างๆ
เป็นการสรา้ งความสมดลุ ทางเศรษฐกิจและสงั คมใหเ้ กดิ ความมนั่ คง ม่งั ค่ัง และยง่ั ยนื ได้อย่างแทจ้ ริง

         20 “Thailand 4.0 คืออะไร?,” Site Google, สืบค้นเม่ือวันท่ี 23 ธันวาคม 2561. https://sites.google.com/site/
adecmju4608/home/prawati-khwam-pen-ma

         21 บวร เทศารนิ ทร,์ “ประเทศไทย 4.0 โมเดลเศรษฐกจิ ใหม,่ ” DrBorworn, สบื คน้ เมอ่ื วนั ท่ี วนั ท่ี 20 พฤศจกิ ายน 2561,
http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223, อ้างถงึ ใน สุรชั พงศ์ สิกขาบัณฑติ , นโยบายประเทศไทย ๔.๐: โอกาส
อุปสรรค และผลประโยชนข์ องไทยในภูมิภาคอาเซียน (ม.ป.ท.: ม.ป.ป.), 2.
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36