Page 6 - ศิริวิบุลกิตติ์
P. 6

สมเด็จพระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานภุ าพทรงพระนพิ นธ์เกีย่ วกบั
เร่ืองยุคสมัยที่แต่งหนังสือศิริวิบุลกิตต์ิไว้ใน “คำอธิบายตำนานโคลงฉันท์กาพย์
กลอน” ว่า ศิริวิบุลกิตต์ิเป็นวรรณคดีสมัยอยุธยา โดยกรมพระราชวังบวรสถาน
มงคลซึ่งหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กวีผู้แต่งรับราชการอยู่ด้วยน้ัน น่าจะเป็น

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์คงโปรดให้หลวงศรีปรีชา
(เซ่ง) แต่งเรื่องนี้ข้ึนถวาย และด้วยเหตุท่ีศิริวิบุลกิตติ์มีทำนองแต่งเป็นกลอน

กลบทประเภทตา่ ง ๆ มากทีส่ ุด จึงไดร้ บั การยกยอ่ งว่าเป็นตำราการแตง่ กลอนกลบท
ท่ีสำคัญและเป็นต้นแบบกลบทท่ีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้
ประชุมกวีเลือกมาแต่ง และจารึกติดไว้ที่เสาพระระเบียงพระอุโบสถชั้นใน

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพ่ือเป็นตัวอย่างให้ราษฎรได้ศึกษาเรื่องการแต่งคำ

ประพันธ์ของไทย

	 ด้านประวัติการพิมพ์ ศิริวิบุลกิตต์ิพิมพ์ครั้งแรกรวมอยู่ในหนังสือชุมนุมตำรา
กลอน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อครั้งดำรง
ตำแหน่งนายกหอพระสมุดวชิรญาณได้มีรับสั่งให้กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ
รวบรวมตำราแต่งคำประพันธ์ร้อยกรองท่ีสำคัญเพ่ือพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗​
สำหรบั การพิมพค์ รั้งนี้ นบั เป็นคร้ังท่ี ๗ ไดพ้ มิ พต์ ามต้นฉบับการพมิ พค์ รัง้ ท่ี ๕ เมอ่ื
พ.ศ. ๒๕๓๑ ซึ่งกรมศิลปากรตรวจสอบชำระและเพ่ิมเน้ือความส่วนท้ายเรื่องจนจบ
บริบูรณ์ตามต้นฉบับสมุดไทย ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนัก
หอสมุดแห่งชาติ พร้อมทั้งได้ปรับอักขรวิธีบางส่วนท่ีไม่ติดข้อบังคับของกลบทน้ัน ๆ
ให้ใกลเ้ คยี งกบั ปัจจบุ ัน และนำเรอื่ ง “สิรวิ ิบลุ กติ ตชิ าดก” จากหนงั สอื ปญั ญาสชาดก
มารวมพมิ พ์ไวท้ า้ ยเรอ่ื งดว้ ย

	 กรมศิลปากรหวังว่าหนังสือเร่ือง “ศิริวิบุลกิตต์ิ” นี้ คงจะอำนวยประโยชน์แก่
บรรดาผู้สนใจศกึ ษาค้นควา้ เรือ่ งวรรณคดีกวนี พิ นธ์ของไทยโดยทัว่ กนั 




					  (นายเกรียงไกร สัมปัชชลติ )

					                                           อธบิ ดกี รมศลิ ปากร

สตำุลนาักควมรร๒ณ๕๕กร๒ร
มและประวตั ิศาสตร
์ (4)
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11