Page 206 - การจัดการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงธุรกิจ
P. 206

13-28 การจัดการการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงธุรกิจ

3. 	ศัตรพู ืชและการป้องกนั กำ�จัด

       โรคและศัตรูพืชจะทำ�ให้ไม้ดอกที่ปลูกไม่เจริญเติบโต ไม่ออกดอก หรือเสียหายจนอาจถึงตายไปก็ได้ ดังนั้น
เมื่อสังเกตเห็นว่าต้นไม้แสดงอาการผิดปกติควรจะตรวจสอบให้รู้ว่าอาการผิดปกตินั้นเกิดจาก สาเหตุอะไร เช่น ยอด
หรือใบมีรอยแหว่งขาด ให้ลองสำ�รวจดูว่ามีหนอนหรือขี้หนอนอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็แสดงว่าเกิดจากหนอน แต่ถ้าไม่มีก็
อาจจะเป็นด้วงปีกแข็งมากัดกิน เป็นต้น เมื่อทราบถึงสาเหตุก็จะสามารถป้องกันก�ำ จัดโรคและศัตรูพืชได้ ศัตรูที่ส�ำ คัญ
ของไม้ดอกกระถาง ได้แก่ แมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ หนอน ฯลฯ มีวิธีการป้องกันและกำ�จัดดังนี้

       3.1 	ชนิดศตั รูพชื ที่สำ�คัญมีดังนี้
            3.1.1 แมลงศัตรูพืช ได้แก่
                1) เพลี้ยไฟ พบอาการ ไหม้ดำ� แผ่นใบจะหงิกงอ ขอบใบม้วนขึ้นด้านบน เพลี้ยไฟสามารถแพร่

ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศร้อน และแห้งแล้ง
                การป้องกันกำ�จัด
                     (1) พ่นฝอยละอองนํ้าในช่วงกลางวันเพื่อลดระดับความร้อน และเพิ่มความชื้นในอากาศ
                     (2) ใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น คาร์โบซัลแฟน โมโนโครฟอส ฟิโปรนิล
                2) หนอนชอนใบ เป็นหนอนของแมลงในวงศ์แมลงวัน มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.4 เซนติเมตร

มีสีเหลือง เมื่อแก่สีนํ้าตาลดำ� ในระยะที่เป็นหนอนจะเจาะชอนไชทำ�ลายกัดกินใบพืช อยู่ใต้ผิวใบ จะเห็นเป็นทางคด
เคี้ยวบนใบ หากระบาดมากจะทำ�ให้ใบเสียหายได้ทั้งต้น

                การป้องกันกำ�จัด
                     (1) ควรรีบเด็ดใบที่ถูกทำ�ลายโดยหนอน นำ�ไปเผาทำ�ลายทิ้ง เพื่อไม่ให้ฟักเป็นตัวแก่
                     (2) ใช้กับดักกาวเหนียว ทาบนวัสดุสีเหลือง ปักเป็นระยะ เหนือต้นพืช เพื่อจับตัวแก่
                     (3) ใช้สารเคมีฉีดพ่นสลับกันไป เช่น ไซเปอร์เมทริน + ไฟซาโลน คลอร์ไพรีพอส + บีซี

เอ็มซี ฟิโปรนิล เป็นต้น
                3) หนอน หนอนที่มารบกวนทำ�ลายไม้ดอกกระถางส่วนใหญ่เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืน ซึ่งตัวแก่

จะบินมาวางไข่ที่ดอกตูมหรือยอดในตอนกลางคืน มักจะพบว่ามีหนอนมารบกวนมากในช่วงฤดูฝน
                การป้องกันกำ�จัด
                     (1) ใช้กับดักกาวเหนียว หรือแสงไฟแบล็คไลท์เพื่อกำ�จัดตัวแก่ของผีเสื้อ
                     (2) ใช้สารเคมีฉีดพ่นสลับกัน เช่น เพอร์เมทริน คาร์โบซัลแฟน ฟิโปรนิล ทั้งนี้เพื่อป้องกัน

ไม่ให้หนอนดื้อต่อสารเคมีที่ใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
                4) 	เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงขนาดเล็ก ประมาณ 0.1-0.3 เซนติเมตร ลำ�ตัวมีสีต่างๆ เช่น เหลือง

เขียว ดำ� มีทั้งชนิดที่มีปีกและไม่มีปีก ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบผสมพันธุ์ และไม่ต้องผสมพันธุ์ ส่วนใหญ่ในประเทศไทย
มีการขยายพันธุ์แบบไม่ต้องผสมพันธุ์ สามารถออกลูกเป็นตัว ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมาก ตัวแก่สีดำ�คลํ้า มีปีก บินได้
เพลยี้ ออ่ นจะท�ำ ลายพชื โดยการดดู กนิ นาํ้ เลยี้ งจากพชื ในบรเิ วณยอดออ่ น ดอก โดยมกั จะอยูร่ วมกนั เปน็ กลมุ่ เพลยี้ ออ่ น	
จะถ่ายมูลออกมาเป็นนํ้าเหนียวๆ คล้ายนํ้าหวาน ซึ่งต่อมามักจะมีเชื้อรามาอาศัยกินมูลของเพลี้ยอ่อนอีกทอดหนึ่ง
ทำ�ให้เกิดโรคราดำ�ขึ้น

                การป้องกันกำ�จัด
                     (1) ใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น คาร์โบซัลแฟน คาร์บาริล มาลาไธออน
                     (2) หากพบว่าเป็นโรคราดำ� จะต้องใช้สารเคมีป้องกันกำ�จัดเชื้อราผสมไปพร้อมกัน

                             ลิขสทิ ธขิ์ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211