Page 20 - 120ปี บารมีพระปกเกล้า รวมผลงานการประกวดวรรณกรรมร้อยกรอง และการประชันกลอนสด เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
P. 20

6

              รวมผลง​ านการประกวด​วรรณกรรมร้อยกรอง

เขียนกลอนอย่างไรใหช้ นะใจกรรมการ

           จากการประกวดกลอนทมี่ หาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช ปี ๒๕๕๖
    ซึ่งมี ๒ ประเภท คือ

           กลอนสุภาพ ๑๐ บท ในหัวข้อ “๑๒๐ ปี บารมีพระปกเกล้า” ซึ่ง
    ส่งมาให้ตัดสินล่วงหน้า และการประชันกลอนสดหลากหลายกระทู้นั้น มี
    ข้อคิดจากบทกลอนที่เข้าประกวดหลายประการ ซึ่งจะหยิบยกบางส่วน
    มากล่าวไว้ เพื่อครั้งต่อ ๆ ไป ผู้เขียนกลอนจะได้เขียนให้ชนะใจกรรมการ
    ดังนี้

           ๑. ฉันทลักษณ์ ในการประกวดต้องมีกติกา คือฉันทลักษณ์
    เหมือนเล่นกีฬา คนเล่นเก่งขนาดไหนถ้าทำ�ผิดกติกาก็ต้องปรับแพ้ ใน
    การประกวดครั้งนี้ทั้งกลอนแห้งและกลอนสด มีที่ผิดกติกาไม่น้อย ส่วน
    ใหญ่คือ ผิดเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค กลอนมีเสียงท้ายวรรคชัดเจน
    ดังที่ทุกคนคงทราบอยู่แล้ว แต่ก็มีคนพลาดอย่างน่าเสียดาย รองลงไปคือ
    สัมผัสซ้ำ� นอกจากนี้ก็มีสัมผัสเลือนบ้าง คำ�เกิน คำ�ขาดบ้าง ผู้ประกวด
    จะต้องแม่นยำ�ฉันทลักษณ์จริง ๆ หากแต่งเป็นทีม ก็ต้องมีคนหนึ่งที่ตรวจ
    สอบทุกวรรคอย่างเคร่งครัด

           ๒. เนื้อหาและแนวคิด กลอนประกวดจะต้องบรรจุ เนื้อหา ให้
    ตรงตามหัวข้อหรือกระทู้ ที่กำ�หนด เช่น “๑๒๐ ปี บารมีพระปกเกล้า”
    ก็ต้องบรรจุพระราชกรณียกิจที่สำ�คัญ ๆ ให้เป็นเนื้อหาหลัก หากเป็น
    กระทู้ “หน้าที่ของเยาวชนไทยในระบอบประชาธิปไตย” ก็ต้องคิดเนื้อหา
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25