Page 22 - 120ปี บารมีพระปกเกล้า รวมผลงานการประกวดวรรณกรรมร้อยกรอง และการประชันกลอนสด เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
P. 22
8
รวมผลงานการประกวดวรรณกรรมร้อยกรอง
“เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์” ศรวิเศษ เรืองโรจน์ ความโชติช่วง
พระราชลัญจกร งามเด่นดวง ประดับทรวง ศรัทธา ประชาไทย
“พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” แห่งสยาม เลิศพระนาม ครองสมบัติ นิรัติศัย
พระราชทานทุนศึกษาพาก้าวไกล นักเรียนได้ศึกษาต่อก่อปัญญา
“พระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี” ศรีฉัตรแก้ว คือหนึ่งแนวคู่ขวัญเสน่หา
เป็นรักเดียวใจเดียว เกี่ยวอุรา พัฒนาครอบครัวไทยให้มั่นคง
(ธันยพร เมืองเจริญ)
(๔) “ข้าพเจ้าเต็มใจให้อำ�นาจ
แต่ไม่ยกอำ�นาจให้ใครอ้างอิง แก่ปวงราษฎร์ทั้งหลายทั้งชายหญิง
โดยไม่ฟังเสียงแท้จริงของปวงชน”
(วัฒพล กางไธสง)
กลอนทงั้ ๔ ส�ำ นวนทยี่ กมานี้ บทแรกใชก้ ารน�ำ หวั ขอ้ มาขนึ้ ตน้ วรรค ในลกั ษณะกลอนกระทู้
ซึ่งถือเป็นศิลปะการแต่งอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับตัวอย่างที่ ๒ แต่การใช้คำ�ซ้ำ�ๆ กันขึ้นต้นวรรคนั้น
จะต้องไม่ใช้มากเกินไป เพราะจะคลายความโดดเด่น และอาจ เฝือ เพราะหาประเด็นมาลงได้ไม่
เหมาะสม ตัวอย่างที่ ๓ บรรจุพระนามได้หลายคำ� ซึ่งถือว่าทำ�ได้ยาก ส่วนตัวอย่างที่ ๔ มีการ
หยิบยกข้อความสำ�คัญมาเป็นจุดเด่นของเรื่อง เป็นการขึ้นต้นที่เร้าความสนใจ จุดดีจุดเด่นเหล่านี้
ทำ�ให้ชนะใจกรรมการได้พอสมควร
สำ�หรับการประชันกลอนสดในรอบสุดท้าย หลังจากผ่านมาหลายกระทู้แล้ว คือ “หน้าที่
ของเยาวชนไทยในระบอบประชาธิปไตย” อาจจะยากสักหน่อยสำ�หรับนักเรียน แต่ก็ให้เขียน
ยาว ๔ บท เพื่อบรรจุเนื้อหาได้สะดวกขึ้น หลาย ๆ ทีมกล่าวถึงหน้าที่ของประชาชนทั่วไป
โดยไม่เน้นเฉพาะ เยาวชน ก็ตกรอบไป สำ�นวนที่ชนะใจกรรมการอาจไม่ไพเราะกินใจมากนัก
แต่เนื้อหาครบถ้วน ลีลากลอนพอใช้ เช่นสำ�นวนที่ ๔ ก็คว้ารางวัลได้ ส่วนสำ�นวนที่ ๕ ลีลา
กลอนดี เนื้อหาพอไปได้ และสำ�นวนที่ ๖ มีวรรคเด็ดอยู่ตอนท้าย เนื้อหาและความไพเราะพอใช้
ก็ชนะใจกรรมการได้เช่นกัน