Page 27 - 120ปี บารมีพระปกเกล้า รวมผลงานการประกวดวรรณกรรมร้อยกรอง และการประชันกลอนสด เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
P. 27

13

                             เพือ่ เฉลิมพระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจา้ อยหู่ วั

      ในชว่ งพธิ เี ปดิ ผเู้ ขา้ รว่ มงานไดฟ้ งั การขบั เสภาเฉลมิ พระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้
เจ้าอยู่หัว ประพันธ์โดย รองศาสตราจารย์นภาลัย สุวรรณธาดา ยอดกวีในปัจจุบัน ผู้ขับเสภาคือ
อาจารย์ ดร. อภิรักษ์ อนะมาน (อาจารย์สอนภาษาไทยของ มสธ.) เสียงของท่านสะกดผู้ฟัง
ทั้งในและนอกห้องประชุม อาจารย์ที่พานักเรียนมาชมเชยว่าอาจารย์ขับเสภาได้ไพเราะจับใจจริงๆ
นักเรียนก็ได้เห็นแบบอย่างการขับเสภาที่ถูกต้อง นับว่าเปิดงานได้อย่างประทับใจ กิจกรรมที่จัด
ใน ๒ วันประกอบด้วยการบรรยาย การประชันกลอนสด กิจกรรมสัมพันธ์ สักวาสาธิต การตัดสิน
และมอบรางวัล

      การบรรยาย
      รายการแรกเป็นการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกลอนให้ดีเด่นโดยกวีที่มีชื่อเสียง
๓ ท่าน คือ อาจารย์ประยอม ซองทอง ศิลปินแห่งชาติ รองศาสตราจารย์นภาลัย สุวรรณ
ธาดา ยอดกวี เจ้าของวรรคทอง “จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง” อาจารย์ชมพร เพชรอนันต์
กุล กวีผู้เขียนบทร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี” และหนังสือรวมบทกวี “ก่อนกาลจักกลายกลืน”
ตามด้วยการเล่าประสบการณ์การประกวดแต่งกลอนโดยอาจารย์วิษณุ พุ่มสว่าง ผู้ชนะเลิศการ
ประกวดแต่งบทร้อยกรองระดับชาติหลายเวที
      อาจารย์ประยอม ซองทอง ได้บรรยาย “หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการแต่งบทกลอน
๕ ประการ” ได้แก่ (๑) ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ (๒) ใจความหรือเนื้อหาต้องดีเด่น ชัดเจน
สร้างสรรค์ในทางดีงาม (๓) ถ้อยคำ�ดีเด่น (๔) สำ�นวนโวหารลึกซึ้งกินใจ (๕) อารมณ์สะเทือน
ใจ อาจารย์ได้ยกตัวอย่างบทกลอนต่างๆ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
      หลังจากนั้น รองศาสตราจารย์นภาลัย สุวรรณธาดา ได้บรรยายในหัวข้อ “คำ�สัมผัส
ที่เป็นปัญหา” อาจารย์ยกตัวอย่างคำ�ที่มีตัวสะกด (มีไม้ไต่คู้) และคำ�สระเดียวกันที่มีวรรณยุกต์
(ไม่มีไม้ไต่คู้) ว่าจะเป็นคำ�สัมผัสกันได้หรือไม่ เช่น เป็น-เล่น-เว้น หรือ แข็ง-แกร่ง-แป้ง จาก
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32